Skip to content

คุณธรรมเทวดา

หลวงปู่หลวง กตปุญโญ

| PDF | YouTube | AnyFlip |

แต่นี้ต่อไปพากันตั้งใจนั่งตามสบาย วันนี้เป็นวันสามัคคีธรรมคือว่าจะมารวมกัน ณ สถานที่นี้ ในเบื้องต้นก็ได้พร้อมเพรียงกันกราบพระ ทำวัตร สวดมนต์ แปลว่าคือเราได้ทำบุญพร้อมทั้งสามอย่าง บุญทางกายก็ได้กราบไหว้ สักการะบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บุญทางวาจาก็ได้เปล่ง อรหังสัมมา สัมพุทโธ หรือว่าพุทธคุณ ธัมมคุณ สังฆคุณ ทีนี้บุญทางใจเราก็ได้ระลึกพุทโธลมเข้า พุทโธลมออก คือว่าฟังธรรมนั้นใจของเราให้อยู่ในธรรมด้วย 

ธรรมก็คือลม ลมก็คือธรรม เพราะว่าลมนั่นแหละเป็นพ่อของธรรม เป็นแม่ของธรรม เป็นที่เกิดของธรรม เป็นที่อยู่ของธรรม เราทุกคนที่มารวมกันอยู่นี่ได้ก็เพราะมีลม ถ้าลมไม่มีแล้วเค้าก็ว่าซากศพซากผี จะทำความดีก็ไม่ได้ ทำความชั่วก็ไม่เป็น 

เพราะฉะนั้นจึงว่า เมื่อกี้นี้เพิ่นก็ได้เทศน์รวมกันสามัคคีเรื่องกุสลา มาติกา หรือว่า กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา อัพพะยากะตา ธัมมา อันนี้ที่เรามารวมกันนี้แปลว่าเรามาสวดกุสลา ธัมมา เหตุใดจึงว่าสวดกุสลา ธัมมา กุสลา ธัมมานั้นได้แก่บุคคลที่มีปัญญา มีศรัทธา ความเชื่อความเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วได้เสียสละกิจการงานของโลกมาบำเพ็ญการงานของตน คืองานของโลกนั้นเป็นงานที่ไม่แล้ว ทำตั้งแต่เกิดจนตายก็ไม่เสร็จ งานที่เสร็จ งานที่ไม่แล้วคืองานของโลก บัดนี้ที่เรามาทำงานในทางพุทธศาสนาคือธรรมะ อันนี้เป็นการงานที่แล้ว ถ้าทำแล้วทำได้ ก็หมด อย่างพระพุทธเจ้า พระอริยเจ้า พระสาวก สาวิกา เพิ่นทำงานในการทำสมาธิภาวนา คือว่ารวมความก็คือว่า ทำลมเป็นบุญ 

ธรรมดาลมของเรา ธรรมดาสามัญนั้นก็ส่วนมากเป็นลมถ่ายบาปเป็นส่วนมาก หรือว่าลมกลางๆ ถ่ายบาปคืออย่างใด เช่นว่าความนึกคิดปรุงแต่งภายในใจของเรา ใจที่นี้ก็มันแต่งคือตัวสังขารนั่นน่ะมันแต่งลม คำว่าลมในสถานที่นี้ก็คือว่าลมปาก ถ้าความคิดเฉยๆไม่มีลมมันก็ไม่มีเสียง ไม่เดือดร้อน ที่มันมีลมขึ้นมาคือลมดีและลมร้าย บัดนี้ลมชนิดนั้นในทางพุทธศาสนาเพิ่นว่า ใจสังขาร ใจมารกิเลส ใจเปรต ใจผี เพิ่นว่าใจไม่ดี คือใจโลภ ใจโกรธ ใจหลง ใจอิจฉา พยาบาทอาฆาตบุคคลอื่นอย่างนี้เป็นต้น อันนั้นเพิ่นว่าลมที่เป็นบาป ไม่มีความสุข ไม่มีความเย็น แต่ว่าลมที่มีพุทโธอยู่ในใจ เช่นว่าลมดี ลมร้าย ลมเรื่องอดีต เรื่องอนาคต ละหมด กำหนดรู้ปัจจุบัน ลมเข้าพุทโธก็รู้ ลมออกพุทโธก็รู้ ดูลมปัจจุบันนี้ อันนี้ลมอันนี้เป็นบุญ 

เมื่อเรามาตั้งมั่นอยู่ในลมเป็นหนึ่งแน่วแน่แล้ว มันก็เป็นสุขเย็นสบาย ลมนั้นน่ะมันไม่ได้ทุกข์ ไม่ได้ร้อน ลองไปถามดูก็ได้ลมน่ะ เจ้าทุกข์มั้ย เดือดร้อนมั้ย ยุ่งมั้ย วุ่นวะวุ่นวายไม่มี เขาไม่มีความทุกข์ เขาไม่มีความเดือดร้อน เขาไม่ได้ยุ่งอะไรทั้งนั้น มีหน้าที่พัดก็พัดไป แต่ว่าที่มันยุ่งมันยากก็คือใจของเรา ใจที่อาศัยลมนั่นน่ะมันยุ่ง 

ฉะนั้นในทางพุทธศาสนาจึงให้ลมนั่นมีหลักมีฐาน มีพุทโธ ธัมโม สังโฆเป็นที่อยู่ เอาพระพุทธเป็นที่พึ่งภายในใจ พระธรรมเป็นที่พึ่งภายในใจ พระสงฆ์เป็นที่พึ่งภายในใจ เมื่อใจมีพุทโธหรือว่าใจอยู่ในลมเป็นหนึ่ง มันเย็นสบาย ลมนั้นน่ะมีความเย็น เปรียบเหมือนเรานั่งในขณะนี้ เปิดลมพัดพลิ้ว พอดีๆมันก็เย็น แต่ว่าพัดแรงเกินไปมันก็ร้อนเป็นไฟเหมือนกัน ลมนั้นมีทั้งคุณทั้งโทษ พัดพอดีมันก็เกิดประโยชน์ ลมมันมีลักษณะว่าลมเย็น ลมร้อน ลมอุ่น ลมเย็นนั้นเป็นสุข ลมอุ่นเป็นลมที่สร้าง ลมร้อนเป็นลมสังหาร ฉะนั้นลมมันมีลักษณะ ลมร้อนเป็นลมที่สังหาร ลมฆ่า บัดนี้ลมเย็นเป็นลมที่มีความสุข ลมอุ่นเป็นลมสร้าง ที่เราสร้างอะไรขึ้นมาเพราะความอบอุ่นในตัวของเรา มีความอบอุ่นสร้างขึ้น อาศัยลมอุ่นเป็นเครื่องสร้าง ถ้ามันร้อนเกินไปมันก็สร้างไม่ได้ เย็นเกินไปมันก็สร้างไม่ได้ ลมอุ่นๆนั่นแหละมันสร้างอะไรต่างๆขึ้นมา

ฉะนั้นวันนี้พวกเราที่ได้มามองเห็นว่าการเกิดของเรา เกิดมาทุกคนนี้ ก็ไม่มีอะไร คือว่ามาเชื่อฟังคำสอนพระพุทธเจ้าว่า กายของเราที่เกิดมานี้ก็หาสาระแก่นสารไม่ได้ เกิดมาแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย และเขาไม่ยินดีด้วย รูปร่างกายนี้เขาไม่ยินดี เพิ่นว่าเป็นอัพยากตาธรรม คือดิน น้ำ ไฟ ลมนั้นน่ะ รูปร่างกายของเราที่เราสร้างขึ้นมาด้วยอวิชชาตัณหา อุปาทาน กรรม สร้างรูปร่างกายขึ้นมานี้ อันนี้เมื่อสร้างขึ้นมาแล้ว ก็มายึดถือให้มันอยู่ในบังคับบัญชา ไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตายอย่างนี้เป็นต้น แต่มันก็ไปตามสภาพของเขา เรียกว่าอนัตตาคือดิน น้ำ ไฟ ลม นั่นก็เป็นสภาวธาตุอย่างหนึ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปๆ ซึ่งไม่อยู่ในบังคับบัญชาของบุคคลผู้ใดทั้งนั้น 

รูปร่างกายนี้ของเราทุกคนให้มันกินดี นอนดี อยู่ดีขนาดไหนมันก็ไม่ยินดี คือเราแสนทุกข์แสนยาก ลำบากตรากตรำในการหาอาหารการกิน การอยู่ใช้มาให้มันอยู่ มันกินมันใช้ ทนทุกขเวทนา แต่ว่ารูปร่างกายเขาก็ไม่ได้ยินดีเรา ไม่ยินดีและไม่สงสารด้วย มานึกแล้วก็…ถ้ามานึกเผินๆก็แปลว่า ก็มันน่าเจ็บใจ ช่างไม่มีเมตตาเล้ย น่าเจ็บใจหนอ ที่เราริหาเงินหาทอง แสนทุกข์แสนยาก หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ทนทุกขเวทนาหามาเลี้ยงก้อนกายอันนี้ แต่ว่าเขาก็ไม่ยินดีเราเลย ไม่ยินดี ไม่ได้พอใจ ไม่ได้ยินดี หน้าที่ของเขาต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายไปเรื่อย 

เนี่ยเป็นอย่างเนี้ย จึงว่าพระพุทธเจ้า ผู้มีปัญญา หรือว่าพวกที่มีปัญญาก็นำรูปร่างกายนี่หละมาสร้างบุญสร้างกุศลให้เป็นสาระแก่นสารขึ้น ดังที่คำที่ยกเบื้องต้นนั่นว่า กาโย ภิกขเว อะสาโร สารวะ กาตัพโพ ติ ดูก่อนท่านทั้งหลายหรือภิกษุทั้งหลาย รูปร่างกายนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ เกิดมาแล้วก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย ไปตามสภาพของเขา ไม่ใช่สมบัติของเราซักอย่าง อย่างนี้เป็นต้น ฉะนั้นผู้มีปัญญาก็นำรูปร่างกายนี่แหละมาสร้างให้เป็นสาระแก่นสารขึ้น เช่นนำรูปร่างกายของเรามาไหว้พระ สวดมนต์ นั่งกรรมฐานภาวนา อานาปานสติ ลมเข้าพุทโธ ลมออกพุทโธเป็นหนึ่งเนี่ย อันนี้แปลว่าผู้มีกุสลา ธัมมา หรือว่าผู้สวดกุสลา ธัมมา 

อันนี้ส่วนวัตถุธาตุต่างๆคือข้าวของเงินทอง ก็เป็นสมบัติประจำอยู่ในโลกดังที่เรารู้กัน ไม่ใช่ของใครซักคน เป็นเครื่องใช้อยู่ในโลกชั่วครู่ชั่วคราว ผู้มีปัญญาก็นำอันนั้นมาเป็นสิ่งที่เป็นสาระแก่นสารขึ้น เช่นนำวัตถุโภคทรัพย์นั้นมาสร้างบุญสร้างกุศล เช่นนำโภคทรัพย์นั้นมาสร้าง ขุดน้ำบ่อ ก่อศาลา สร้างวัดวาศาสนา สร้างโบสถ์ สร้างศาลา อย่างนี้เป็นต้น อันนี้ก็แปลว่า ผู้มีปัญญา ทำสิ่งที่โภคทรัพย์นั่นก็หาสาระแก่นสารไม่ได้ สุดท้ายโภคทรัพย์นั้นมันก็แปรไปตามสภาพ 

ยกตัวอย่างเช่นว่า ธนบัตรน่ะ ผลัดกันใช้ คนนั้นเอามาใช้ คนนี้เอามาใช้ สุดท้ายก็เหงื่อมันถูกคราบไคล เป่าขาดผุไป สุดท้ายก็เป็นดิน เงินเพิ่นว่าสมมุติ ธนบัตรก็ธาตุดินนั่นแหละ เอามาสมมุติใช้ ก็ไม่ใช่ของใคร อยู่ได้คนนั้นก็ไปใช้กันไป ผลัดกันไปผลัดกันมา สุดท้ายก็ดำเข้ามันก็ขาด สุดท้ายก็ไปเผาทิ้ง หรือไปเปื่อยลงเป็นดินไปซะ ก็ไม่มีอะไร นี่โภคทรัพย์ ก็ธาตุดินนั่นแหละ ผู้มีปัญญาก็นำมาให้เป็นประโยชน์ อย่างที่พวกเราทั้งหลายได้พากันมีปัญญาทำขึ้น

บัดนี้ส่วนใจ ใจของเราก็หาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้ ไม่ได้อย่างไร ใจของเรานั่นหละมันสำคัญที่สุด มันหาสาระแก่นสาร หาประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้เท่าไรหรอก คือมันใจโลภ ใจโกรธ ใจหลง ใจอิจฉาพยาบาท ใจของเราใจมันโลภหลงไปตามสัญญาอารมณ์ต่างๆ หลงในวัตถุธาตุว่าเป็นของเราอย่างนั้นอย่างนี้ ตาม วิ่งตาม วิ่งตามวัตถุธาตุว่าเป็นสมบัติของเรา สุดท้ายก็ทำบาปทำกรรมในวัตถุอันนั้น ฆ่ากันตีกันวุ่นวะวุ่นวาย ก็เพราะว่าหลงในวัตถุอันนั้น อันนี้ความคิด ใจนั่นคือความคิดของเรา เดี๋ยวก็คิดดี เดี๋ยวก็คิดไม่ดี คิดโลภ คิดโกรธ คิดหลง คิดอิจฉาพยาบาท คิดเรื่องอยู่เรื่องกินเรื่องหยังไม่รู้อะไรต่างๆ ไปตามกระแสโลก ล้วนแล้วแต่หาสาระแก่นสารไม่มีที่สิ้นสุดหยุดลงไปได้ สุดท้ายก็ตายไป ตายไปแล้วก็ ใจก็เป็นสัมภะเวสี เป็นสัมภะเวสีหาล่องลอยอยู่ในโลกนี้แหละ ลอยไปลอยมา หาที่เกิดยาก ไม่ได้ของง่าย 

จะเล่าเรื่องหนึ่ง มีเณรองค์หนึ่ง คนจังหวัดเมืองศรีสะเกษ มาบวชเป็นเณรน้อย มาบวชเป็นเณร เณรเก่าก็บวชมาได้ปีสองปี แต่ว่าเณรก็แบบว่านั่นหละ มันเป็นเณรปึ้กเณรหนาเณรตาบอด ไม่ใช่เณรมีปัญญา เณรไม่มีกุสลา ธัมมาหรอก เป็นเณร อกุสลา ธัมมา เมื่อเณรตัวนี้มันบวชเข้ามา เณรเก่ามันก็เล่า พากันไปทำบาป ไปฆ่ากระรอก ไปฆ่ากระแต ไปฆ่าไก่ อาจจะเป็นเณรบ้านนอก ฆ่าไก่มันบอกไม่บาปหรอก ไก่มันมาวัด ไก่มันของเลี้ยงชีวิต มาฆ่ากระรอกกระแตมันเกิดมาให้เราเลี้ยงชีวิต ไม่บาปแล้วเอามากิน ก็บำรุงร่างกายให้มีชีวิตชีวาอยู่ เณรเก่ามันก็เล่าว่าไม่บาป เณรใหม่ก็เชื่อ ก็เลยทำบาปกับเขา เขาพาฆ่าไก่ก็ฆ่ากับเขา ฆ่ากระรอกฆ่ากระแต ตอนเป็นเณร 

สุดท้ายก็มาได้ยินได้ฟังธรรมะจากครูบาอาจารย์ก็เลยรู้ว่ามันเป็นบาป ก็เลยเลิก ไม่ทำแล้ว ต่อมาก็มาบวชเป็นพระ บวชเป็นพระได้ ๒๐ ปี ตายพอดี ตายแล้วก็นายพญายมก็มานำเอา นายนิรยบาลน่ะมาตวยเอา หรือมาตามเอา เอาไป ที่เอาไปนำไปเพราะเหตุใด เพราะกระแต กระรอก ไก่ ที่เณรมันฆ่าน่ะ มันไปรออยู่พู้นแน่ะ ในปรโลก มันไปรอท่า มันฟ้องอยู่ มันคอยตัดสิน มันไปรอตัดสินคดีอยู่นู่นแน่ะ มันไม่ใช่ยอม 

สุดท้ายนายนิรยบาลก็มาตามเอาดวงจิตดวงใจนั่นไป ไก่มันก็ไม่ใช่เหมือนไก่ธรรมดา พอไปถึงปรโลกแล้วไก่มันตัวเท่าควายเนี่ย ไม่ใช่ไก่ตัวน้อยๆที่เราเห็นเนี่ย ไก่ตัวเท่าควายเนี่ย ยกตัวอย่างเช่นมดแดงที่มันไปฆ่าน่ะ มันก็แหย่เอามากินน่ะ มดแดงก็ตัวเท่าวัว ตัวใหญ่มีเขายาวเชียว กระแตก็ตัวใหญ่เท่าควายเนี่ยแหละ มันว่า เณรนี่แหละ ฆ่า เมื่อยังเป็นเณรอยู่ ฆ่าข้าพเจ้า นายพญายมก็บอกว่า ได้ฆ่าจริงหรือ …จริง เราไม่รู้ เณรพาไปว่ามันไม่บาปก็เลยฆ่ามัน มันรับเลย เณรมันซื่อ อย่างนี้ก็สุดท้ายก็ตัดสินใจให้ตกนรกซะ ตกไม่นานหรอกเจ็ดวัน เสวยกรรมทุกข์เสียก่อนเพราะได้ทำไปแล้ว มันไม่พร้อมตัดสิน ไก่นั้นมันอาฆาต ไม่ยอม มันจะสับหัวฆ่า สับเณรน้อยนั่นน่ะลงนรก เอาตีนเขี่ยลงนรก สุดท้ายก็ได้ตกนรกอยู่เจ็ดวัน 

พ้นจากนรกไปแล้วก็ไปสวรรค์ ไปอยู่สวรรค์ ไปสวรรค์ก็ไม่มีที่อยู่ ไปสวรรค์ชาวสวรรค์ทั้งหลายก็ว่า เณรนั้นน่ะเป็นคนใจบาปฆ่ากระรอก ฆ่ากระแต ฆ่าไก่ ฆ่ามดแดงมดดำ ใจบาป มาอยู่เมืองสวรรค์บ่ได้ อยู่ไม่ได้ ไล่ไปเลย ไปเห็นเมืองสวรรค์มันสวยมันงาม ปราสาทวิมาน โอ้ย นางเทพธิดาก็ล้วนแต่สวยงาม อยากอยู่แต่อยู่ไม่ได้ เขาว่าคนบาป ไล่ลงมาเมืองมนุษย์ 

เมื่อถึงเมืองมนุษย์แล้วก็เป็นสัมภะเวสีอยู่ หาที่เกิด เกิดอยากเกิดมาสร้างบารมี หาที่เกิดอยู่นั่นน่ะ หาที่เกิดไหนก็ไม่ได้เกิด ๕๐ ปีน่ะ หาที่เกิดอยู่ ๕๐ ปี จึงได้ไปเข้าท้องชาวนา ชาวนา เกิดขึ้นมาแล้วก็ระลึกชาติได้ ระลึกชาติได้ว่าเราไปตกนรก เราได้ไปสวรรค์ นรกมันทุกข์อย่างนั้นๆ บาป สวรรค์มีความสุขแต่ไม่ได้อยู่ บัดนี้เหมือนกับว่า บัดนี้ข้าพเจ้าไม่เชื่อใครแล้ว คำว่าบาปไม่มี ข้าพเจ้าก็ตกนรกมาแล้ว สวรรค์ไม่มี ข้าพเจ้าไปดูสวรรค์มาแล้ว สุดท้ายมันก็เลยอยู่กับพ่อแม่ได้แปดปี เมื่อได้แปดปีก็ขอลาพ่อลาแม่ไปอยู่วัด กับครูบาอาจารย์ เพื่อจะได้เรียนวิชา หนังสือหนังหา สุดท้ายก็ออกบวช รักษาศีล ฟังธรรมคำสอนพระพุทธเจ้า แล้วก็ภาวนาด้วย 

ตามหลักเมื่อมีศีล มีสมาธิ มีภาวนา ปฏิบัติบูชานานเข้าๆ จิตมันก็ตั้งมั่นเป็นสมาธิ รู้แจ้งแสงสว่าง แล้วก็รู้ว่ากลัวด้วย มันกลัว ทำอย่างใด อะไรพาให้เราทุกข์เรายาก กิเลสนั่นแหละพาให้เราทุกข์ ความโลภ ความโกรธ ความหลงนี่แหละ อวิชชา ตัณหานี่แหละพาให้เราทุกข์เรายาก มันก็มาภาวนาพิจารณาพุทโธ รู้ รู้แล้วก็ละกิเลส สุดท้ายก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ไปพระนิพพานพ้นทุกข์ 

ฉะนั้นจึงว่าใจของเราหาสาระแก่นสารไม่ได้ พระพุทธเจ้าว่าจงทำให้ใจมีสาระแก่นสารเทอญเพิ่นว่า ท่านว่าใจมีสาระแก่นสาร คือใจอย่างไร ใจมีพุทโธเป็นที่อยู่ ใจมีธัมโมเป็นที่อยู่ ในใจมีสังโฆเป็นที่อยู่ มีพุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็คือใจมีศีลนั่นแหละ ใจมีศีล ใจมีธรรมนั่นแหละ พุทโธก็แปลว่ารู้ รู้จักบาป รู้จักบุญ รู้จักคุณ รู้จักโทษ รู้จักสร้าง รู้จักละความชั่ว รู้จักทำความดีให้เกิดมีขึ้น รู้จักชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสสะอาด พุทโธก็แปลว่ารู้ รู้ว่าบาปมันไม่ดี บาปมันเป็นทุกข์ คืออกุสลา ธัมมา นั่นน่ะมันเป็นฝ่ายบาป อกุสลา ธัมมาก็ได้แก่ความโลภ ความโกรธ ความหลง อวิชชา ตัณหา ที่มันพาเราทุกข์ยาก นั่นตัวอกุสลา ธัมมา 

ส่วนกุสลา ธัมมาก็ได้แก่สติปัญญานั่นแหละ มีศีล สมาธิ ปัญญา ทาน ศีล ภาวนา มีสติ มีปัญญา มีศรัทธา ความเชื่อความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัยว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นี่เป็นของประเสริฐเลิศแท้ เป็นนิยยานิกธรรมแท้ คือพระพุทธเจ้าเพิ่นสอนให้ละกิเลส แล้วให้ทำคุณงามความดี สร้างบุญสร้างกุศล คือให้ทาน รักษาศีล ภาวนา กำหนดอานาปานสติ ลมเข้าพุทโธ ลมออกพุทโธ ให้จิตตั้งมั่นแน่วแน่ ปล่อยวางสัญญาอารมณ์ต่างๆภายนอก เรื่องดี เรื่องชั่ว เรื่องอดีตอนาคต เรื่องของตนและคนอื่น ละหมด ให้กำหนดรู้ปัจจุบัน ปัจจุบันคือลมนั่นน่ะ ตัวสติคือลม ลมน่ะคือปัจจุบันธรรม จุดตัวธรรมก็คือลมนั่นแหละ 

ทีนี้ใจของเราไม่อยู่ในลม มันไม่ตั้งอยู่ในลม มันเถลไถลไปไหนก็ไม่รู้ ถ้าใจอยู่ในพุทโธ ลมเป็นหนึ่ง เป็นเอกัคคตารมณ์น่ะ เย็นสบายเป็นสุข ตัวพระธรรมก็คือทาน ศีล ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา ใจอยู่ในศีลก็อยู่ในธรรม ใจมั่นอยู่ในสมาธิก็อยู่ในธรรม ใจมีปัญญาละสิ่งที่ไม่ดีอยู่ในหัวใจของเรา มีปัญญารู้เท่าทันกิเลส ความโลภมันเกิดขึ้น ความโกรธมันเกิดขึ้น ก็รู้จักดับมัน รู้จักละมัน รู้จักปล่อย รู้จักวาง เค้าเรียกว่า มันละเป็น อาศัยความอดทน 

เมื่อสิ่งใดที่มันไม่ดีแล้วก็มีปัญญา หรือว่ามี สัญญมะ (การยับยั้ง การงดเว้นจากบาป) ข่มมันไว้ ข่มมันไว้ ข่มมันได้ อดทนเอา ข่มมันไว้ด้วย ไม่ให้มันไป มันโกรธขึ้นมาก็อดเอา ทนเอา โกรธก็อย่าให้มันโกรธอยู่ในหัวใจ ไม่ให้มันไปกล้าไปฆ่าไปตี ไปด่าว่าร้ายคนอื่น โกรธอยู่ในหัวใจของเราคนเดียว มันเป็นทุกข์อยู่คนเดียว เดี๋ยวมันก็ดับ มันก็ดับ นี่เพิ่นว่า มีปัญญา มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา รู้ทันกิเลสเกิดขึ้น ความโลภเกิดขึ้นก็รู้ ความโกรธเกิดขึ้นก็รู้ ความหลงเกิดขึ้นก็รู้ รู้แล้วก็ละด้วย อันนี้เพิ่นว่าแปลว่าผู้ที่มีกุสลา ธัมมา ผู้สวดกุสลา ธัมมา 

กุสลา ธัมมาแปลว่าผู้มีปัญญานั่นน่ะ ละความโลภ ความโกรธ ความหลงให้เบาบางห่างออกจากใจได้ ผู้มีปัญญานั้นให้ทานได้ ผู้มีปัญญารักษาศีลได้ ผู้มีปัญญารักษาศีลได้ ผู้มีปัญญาน่ะ สร้างบุญสร้างกุศล ไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิภาวนา ใจสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ นี่หละแปลว่าสวด กุสลา ธัมมา ไม่ใช่ว่าตายแล้วก็นิมนต์พระมาสวด บ่มีหนทางหรอก ถ้ามันได้อย่างนั้น พระพุทธเจ้าก็สวดให้เราไปสวรรค์ พวกเราไปสวรรค์นิพพานแล้ว บ่ได้อยู่พระพุทธเจ้านั่นมีมหากรุณาธิคุณ พระองค์มีเมตตาปรารถนารื้อสัตว์ขนสัตว์ให้พ้นทุกข์ภัยในวัฏสงสาร ถ้าหากพระองค์สวดให้ไปสวรรค์นิพพานได้ก็มันก็ไม่มีปัญหา แต่มันไม่ได้ สวดให้ไม่ได้ เราต้องสวดเอาเอง เราสวดเอาเอง สวดเอาใครเอามัน ใครมันสวด มันก็ได้ ก็จึงว่ามันหา มันได้ เพิ่นว่า มันหาก็มันได้ มันได้ก็มันรวย เพิ่นว่า มันหาก็มันได้ มันได้ก็มันรวย 

มันเจ็บมันไข้ มันก็ใกล้ความตายทุกวันน่ะ มันเจ็บมันไข้ใกล้ความตายทุกวัน หรือว่ามันเจ็บมันไข้ก็ตายน่ะ ไข้บ่อยๆเจ็บบ่อยๆมันก็ตาย สาเหตุนั้นในทางพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือว่าในยุคนี้ ในยุคนี้ปัจจุบันนี้ที่เราเกิดมาในยุคนี้ เราก็มีโชคดีวาสนาดี มีลาภดี โชคดีวาสนาดี ดีอย่างไร คือดีว่าเกิดมาได้มาพบปะธรรมะคำสอนพระพุทธเจ้า แล้วก็ได้มาพบปะครูบาอาจารย์ผู้ชี้ช่องบอกทางให้ เป็นตัวนำ เป็นตัวชี้ช่องบอกทางว่า ศีลเป็นอย่างนี้ ธรรมเป็นอย่างนี้ ภาวนาเป็นอย่างนี้ แล้วเราก็ได้มีความเชื่อความเลื่อมใสปฏิบัติตามด้วย นี่แปลว่ามีโชคดี ลาภดี วาสนาดี ถ้าเราไม่มีโชควาสนาดีก็ ไม่รู้เรื่อง 

ฉะนั้นจึงว่าถ้าเกิดมาในยุคบางยุคนั่น บ่มีผู้สอนน่ะ เกิดมาเหมือนกันแต่บ่มีผู้แนะผู้นำผู้สอน ผู้ชี้ช่องบอกทางให้ ก็ไม่รู้เรื่อง ดันติ๋งอยู่นั่นแหละ ฉะนั้นเราเกิดมาในยุคนี้ นับว่ามีโชคดี ลาภดี วาสนาดี คือเราได้ทำประโยชน์สองอย่าง ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในอนาคตข้างหน้าด้วย ที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญยกว่าเป็นผู้ดีผู้เลิศ คือประโยชน์ปัจจุบัน 

เช่นว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ เป็นคนหมั่น มีความหมั่นขยันในการทำมาหาเลี้ยงชีพ หมั่นขยันในการรักษา หมั่นขยันในการหา หาแล้วก็เก็บไว้ ก็ใช้จ่ายในทางที่เป็นประโยชน์ เป็นบุญเป็นกุศล เป็นประโยชน์ตนและคนอื่น และก็มีการคบกัลยาณมิตร คบกัลยาณมิตรคือมิตรที่ดี มิตรที่ดีก็คือว่าครูบาอาจารย์ผู้ดีน่ะ หรือว่าคำสอนพระพุทธเจ้าน่ะเป็นกัลยาณมิตรแท้ คำสอนพระพุทธเจ้านี่เป็นกัลยาณมิตรแท้ๆ คือศรัทธาน่ะ 

เมื่อเราเชื่อว่าบุญบาปมีจริง แล้วก็เชื่อมั่น นี่เพิ่นว่าตัวศรัทธานั่นแหละเป็นกัลยาณมิตรแท้ ที่พระพุทธเจ้ารับรองว่า สทฺธา สาธุ ปตฏฺฐิตา ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้วย่อมเป็นเหตุนำมาซึ่งความดีและความสุขได้ และติดตามตัวเราไปด้วย ศรัทธานั่นหละเป็นเครื่องติดตาม สทฺธา สาธุ ปตฏฺฐิตา เพิ่นว่า ศรัทธาคือความเชื่อ เชื่อในการทำดี ทำสร้างบุญสร้างกุศล เป็นเครื่องติดตามหัวใจของเราตลอดไป 

เปรียบเหมือนกับเรามีวิชาปัญญาอยู่ในตัว มีวิชาหรือว่าอ่านหนังสือออก บอกหนังสือได้ทุกอย่าง มีความรู้อยู่ในหัวใจ ไปที่ไหนก็อ่านออกได้ ไปที่ไหนก็อ่านเขาเขียนตัวอะไรมา อ่านได้หมด รู้ได้หมด อ่านออกบอกได้ เพิ่นว่า อันนี้แปลว่าในทางที่ดี อ่านออกบอกได้ บอกได้คือยังไง อ่านออกแล้วก็บอกได้ด้วย คืออ่านออกบอกได้ เช่นว่า อ่านออกแล้วบอกได้ว่าอันนี้ไม่ดีนะ หยุด อันนี้ไม่ดีนะ ยั้งซะ อันนี้ไม่ดีนะ หยุด อย่าไปทำ ยกตัวอย่างเช่นว่าบอกลูกว่า ลูกเอ๋ย อันนี้ไม่ดีนะ บอก มันก็หยุด คือมันรู้แล้ว อ่านออกบอกได้เพิ่นว่า นี่เป็นอย่างนี้ คือมันรู้ มันรู้ว่าไฟมันเป็นทุกข์นะ บอกแล้วมันก็หยุดทันที เมื่อมันรู้มันก็ต้องไปเสียก่อน มันรู้แล้วมันก็หยุดทันที ไม่เอาแล้ว นี่เรียกว่าอ่านออกบอกได้ อันนี้เป็นหลักที่เทศน์จริง อ่านไม่ออก บอกไม่ได้ บางทีอ่านออกแต่บอกไม่ได้ คือว่ารู้ คือรู้แต่ไม่เห็น รู้แต่ไม่เห็น คือไม่เห็นว่าอันนี้เป็นเหตุแห่งความทุกข์ ทุกข์เป็นอย่างนั้น บาปเป็นอย่างนี้ มันไม่เห็น ไม่เห็นในใจ มันรู้ 

เช่นบางคนเค้าก็ว่านรกเป็นเรื่องขี้จุ๊ ให้คนทำบุญ นรกมันว่าเป็นอย่างนั้นๆ ที่จริงมันไม่มีหรอกเขาว่า มันเป็นอุบายของพระพุทธเจ้า ขี้จุ๊ให้ หาอุบายให้คนทำดี ก็ว่าไป อันนี้มันก็ถูกคำเขา คือตามันบอด คนตาบอดมาตั้งแต่เกิดน่ะ พระอาทิตย์แสงมันเป็นอย่างนั้นเด้อ พระจันทร์แสงมันสวยสีมันสวยอย่างนั้นเด้อ ดาวในท้องฟ้ามันสีสวยงามอย่างนั้นเด้อ มันไม่เห็นน่ะ ตามันบอดมาตั้งแต่เกิด มันไม่เห็นมันก็ว่าไม่ดี บ่มีหรอก นี่ฉันใด คนมันบอด คนมันเกิดมันบอด ตามันบอด ตามันไม่แจ้ง ตาใจน่ะมันบอด ตาสติปัญญามันไม่เกิด ส่วนตาหนังมันก็เป็นธรรมดาหรอก ตาหนังน่ะ ตาโลภ ตาโกรธ ตาหลง ตารัก ตาชังนั่นมันมีอยู่ประจำอยู่ในโลก ไม่ต้องไปหาเรียนที่ไหนหรอก ตาโลภ ตาโกรธ ตาหลง ตาขี้รักขี้ชัง ตาขี้จุ๊ ขี้ร้าย มีอยู่หรอก ประจำอยู่ในหัวใจนี่แหละ ไม่ต้องไปศึกษา ไม่ต้องไปเรียนยากหรอก 

ฉะนั้นเราต้องมาเรียนตาในให้เกิดขึ้นเพื่อจะได้แก้ปัญหา ปัญหาพาทุกข์พายาก พาลำบากตรากตรำก็คือกิเลสนั่นแหละ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อวิชชา ตัณหา พาเราทุกข์เรายาก เดือดร้อนอยู่ในโลกอยู่ในทุกขเวทนาอยู่เนี่ย เหตุนั้นเราจึงมาแก้ปัญหา แก้ใจนั่นน่ะ ใจนั่นน่ะมาเรียนธรรมะมาแก้หัวใจของเรา เพราะกิเลสมันอยู่ในใจ กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปดมันก็อยู่ในใจ ไม่อยู่ที่อื่นหรอก กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด มันอยู่ในหัวใจของเราทุกคนเนี่ยแหละ 

ฉะนั้นพระธรรมคำสอนพระพุทธเจ้าก็มีถึง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็มาแก้กิเลสในหัวใจของคนของสัตว์นี่แหละ ฉะนั้นผู้มีปัญญาก็มาศึกษาอบรมสดับรับฟัง ได้วิชา ได้ปัญญา ได้ศัสตราอาวุธแล้วก็ฆ่ามันเลย เราสร้างอาวุธขึ้นเด้อ เราศึกษามาฟังเทศน์ฟังธรรมคำสอนพระพุทธเจ้า แปลว่ามาสร้างอาวุธขึ้น สร้างอาวุธขึ้นเพื่อจะต่อสู้กับกิเลสนี่แหละ อาวุธคืออะไร ศีลวุธคือศีลน่ะ สมาธิวุธคือสมาธิตั้งมั่น มันจะสู้มันได้นะ ปัญญาวุธ คือตัวปัญญาเป็นเครื่องตัด ศีลวุธ สมาธิวุธ ปัญญาวุธ เพิ่นว่าเมื่อมีศัสตราวุธเต็มอยู่ในตัว ข้าศึกศัตรูอะไรมาทำลายมันก็ตายหมด 

ถ้ามันไม่มีอาวุธ สู้มันไม่ได้ กิเลสนั่นน่ะ มีแต่มันจะฆ่าเรานั่นแหละ กิเลสนั่นถ้าเราไม่มีอาวุธสู้มัน มันฆ่าเรานะ กิเลสมันฆ่าคน ฆ่าสัตว์ ฆ่าเรา แล้วเราบ่ฆ่ามัน แล้วมันก็จะมาฆ่าเรา เหตุนั้นในทางพุทธศาสนามีพระพุทธเจ้าก็คือหาหนทางฆ่ากิเลส ฆ่ากิเลสตาย ทำลายกิเลสหลุด ถึงวิมุตติเป็นพระอรหันต์ เพิ่นว่า ฆ่าอย่างใด ฆ่ากิเลส ฆ่าด้วยการให้ทาน ฆ่าด้วยการรักษาศีล ฆ่าด้วยการเจริญสมาธิภาวนา ฆ่าด้วยปัญญาคือพิจารณาในรูปร่างกายของเรา กว้างศอก ยาววา หนาคืบ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หาสาระแก่นสารไม่ได้ 

เกิดมาก็ได้รูปร่างกายมา ขาสองแขนสองหัวหนึ่ง เป็นตนเป็นตัว เป็นนั่นเป็นนี่ขึ้นมา สุดท้ายตาย รูปร่างกายที่เราได้มาก็ไปเผาหมด เกิดมาไปได้ ตายไปแล้วหมด ไม่มีอะไรได้ซักอย่าง รูปร่างกายที่เราหอบหิ้ว หาอยู่หากิน เลี้ยงมันจนทุกข์ยากลำบาก สุดท้ายก็ไปเผาไฟเป็นขี้เถ้าหมด ไม่ได้ซักอย่าง อันนี้แปลว่าถ้าเรามีปัญญา มีสติปัญญารู้อย่างเนี้ย กิเลสความโลภ ความโกรธ ความหลง อวิชชา ตัณหามันก็ตั้งอยู่บ่ได้ ดับหมด มันกลัว มันกลัวอาวุธ ปัญญาวุธ ศีลวุธ สมาธิวุธ ปัญญาวุธ ตัดมันไปเลย

ฉะนั้นในทางพุทธศาสนาก็ว่าให้มีคุณธรรมของเทวดา คือมีศรัทธาความเชื่อ มีศีล แล้วก็มีการสดับรับฟัง มีจาโค จาคะ มีสมาธิ มีปัญญาเพิ่นว่า นี่คุณธรรมของเทวดา คุณธรรมของเทวดามันมีอยู่นี่ บางคนปรารถนาเป็นเทวดา อยากให้เทวดามาช่วย ปรารถนาเป็นเทวดา เทวดานั่นเขาดี แต่เป็นเทวดา บัดนี้อยากเป็นเทวดา แต่บ่รู้คุณธรรมของเทวดา มันจะเป็นได้ยังไง มันก็เป็นไม่ได้ เหมือนคนจะเป็นครูต้องมีวิชาครู คนจะเป็นอะไรก็ต้องมีวิชาอันนั้น มันถึงเป็นได้ นี่ฉันใดเราจะเป็นเทวดาเราก็ต้องมีคุณธรรมของเทวดา สร้างให้มันมีขึ้น มีศรัทธาความเชื่อ เชื่อบุญ เชื่อบาป เชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เชื่อในศีลธรรมคำสอนพระพุทธเจ้าว่าเป็นของดี ของเลิศประเสริฐ เป็นนิยยานิกธรรม นำตนให้มีความสุขพ้นทุกข์แท้ แล้วก็มีศีล แล้วก็มีการสดับรับฟังศึกษาเล่าเรียน แล้วก็มีการเสียสละจาโค จาคะ แล้วมีสมาธิตั้งมั่นในการสร้างคุณความดีบ่ถอย แล้วก็มีปัญญาละด้วย สมาธิมั่นแล้วก็ละมันด้วย ถ้าไม่ละมันก็เลอะอยู่นั่นแหละ 

ฉะนั้นเราจะดี จะเป็นคนดีได้ก็ต้องละ เปรียบเหมือนเราทุกคนหาบหนักแล้ว คนมีแต่หาบอย่างเดียว ไม่วางหาบ มันก็หนักอยู่นั่นแหละ ใครเป็นผู้ทุกข์ เจ้าของเป็นผู้ทุกข์หนัก ตนหาบนั่นแหละ เจ้าของเป็นผู้หาบ เมื่อวางหาบได้มันก็เป็นสุข ใจเป็นกลางวางเฉย ไม่รัก ไม่ชัง ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ใจเย็นสบายเป็นสุขได้ นี่ ที่นี้ใจของเรามันไป เดี๋ยวไปทางโน้น เดี๋ยวไปทางนี้ ฉะนั้นจึงสร้างสติ สร้างปัญญา ศรัทธาความเชื่อควมเลื่อมใสในหัวใจมั่นคง ปล่อยวาง สิ่งต่างๆออกได้หมด กำหนดรู้ปัจจุบันธรรมอยู่จนจิตใจเป็นสมาธิเป็นหนึ่ง 

เมื่อใจสมาธิเป็นหนึ่งเย็นสบาย ปัญญาก็เกิดขึ้น พอใจเป็นสมาธินิ่งแล้ว จะมองเห็นเจ้าของ ดูเห็นเจ้าของได้ เหมือนน้ำนิ่งน่ะ เราไปดูในโอ่งน้ำ น้ำมันนิ่ง บ่มีลมพัดกระเพื่อม มองเห็นหน้าเห็นตาของเราได้ มีขี้ตาที่ไหนก็มองเห็นได้ นกบินบนอากาศผ่านเข้ามาก็มองเห็นนกได้ มันบินผ่านมาก็เห็น เห็นตัวของเรา ฉะนั้นส่วนมากคนไปเห็นแต่คนอื่น ตัวมันไม่เห็นน่ะ คนอื่นนั้นน่ะ เห็น แต่ตัวไม่เห็น อย่างนี้เป็นต้น คนอื่นไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ เห็นหมด แต่ตัวเจ้าของไม่ดี ไม่รู้เรื่อง ไม่เห็น มันปิดซะ เห็นแล้วจะไปโทษแต่ภายนอก 

เห็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าของเราก็บ่โทษใครหรอก เค้ามาด่าเพิ่น ก็ว่า เอ้อ เราเกิดมาเค้าก็ด่าอย่างนี้แหละเพิ่นว่า เราเกิดมาก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายอย่างนี้หละ โทษหยัง โทษว่าเราเกิด เพิ่นว่า เกิดมาเค้าก็ด่าอย่างนี้หละ เกิดมาเค้าก็อิจฉา เค้าก็มาว่าอย่างนี้หละ พระพุทธเจ้าก็โทษตัวของท่านเองเป็นผู้มาเกิด เพิ่นจึงละเสีย เพิ่นมีสติมีปัญญาละ โทษตัวของท่าน เมื่อเห็นตัวของท่าน ก็ละไปเลย เปรียบเหมือนเรามองเห็นหน้าตาของเรา ที่มันไม่งามตรงไหน เราก็ตกแต่ง ขี้ดินหม้อหรืออะไรมันติดที่ไหน มันสกปรกที่ไหน เราก็แต่งมันสวยมันงาม เป็นสาวงามขึ้นมา เป็นบ่าวงามขึ้นมา 

ฉะนั้นในทางพุทธศาสนาเพิ่นยังว่า งามเบื้องต้นคือศีล อาทิกัลยาณัง งามเบื้องต้นคือศีล คนมีศีลนั่นน่ะเป็นคนงาม เป็นก็เป็นสาวงาม มัชเฌกัลยาณัง จิตเป็นสมาธิน่ะเป็นคนงาม ปะริโยสานะกัลยาณัง คนที่มีปัญญานั่นแหละเป็นคนงาม คนดี ที่พระพุทธเจ้าเป็นบ่าวงาม งามที่พระพุทธเจ้า บ่าวงามในโลกคือพระพุทธเจ้า ใครสู้ไม่ได้ ไปเมืองสวรรค์ก็ว่าเทวดาก็ว่างามเทียวหละ งามเหมือนเทวดาเค้าว่า 

พระพุทธเจ้าขึ้นไปบนดาวดึงส์น่ะ สาวงามเมืองสวรรค์หายหมด บ่มี สู้พระพุทธเจ้าไม่ได้ มันเหมือนกับเราเข้าไปหาลิงนั่นน่ะ คนเรารูปหล่อๆเข้าไปหาพวกลิงพวกค่างนั่นแหละ พระพุทธเจ้าขึ้นไปบนดาวดึงส์สวรรค์ เทวดามาไหว้มาน่ะ มันก็เหมือนกับลิง เหมือนกับพวกเราไปหาพวกลิงนั่นแหละ อย่างนั้นน่ะ ความงามเทวดาหายหมด สู้พระพุทธเจ้าไม่ได้ เพราะพุทธเจ้าเป็นบ่าวงาม เพิ่นงามอย่างไร อาทิกัลยาณัง พระพุทธเจ้างามอยู่ในศีล มีศีลดี มีธรรมดี อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง งามท่ามกลางคือสมาธิตั้งมั่นหนักแน่น บ่โลภ บ่โกรธ บ่หลง หาย ปล่อยวาง (เทปจบ)