Skip to content

ธชัคคปริตร (แปล)

บทขัดธะชัคคะปะริตตัง ธะชัคคะสุตตัง

ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิกเขปิ ปาณิโน

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมประสบที่พึ่ง แม้ในอากาศดุจในแผ่นดินในกาลทุกเมื่อ

ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา

และความนับสัตว์ทั้งหลายผู้พ้นแล้วจากข่าย

สัพพูปัททะวะชาลมหา ยักขะโจราทิสัมภะวา

คืออุปัทวะทั้งปวงอันเกิดแก่สัตว์มียักษ์และโจรเป็นต้นมิได้มี

คะณะนา นะ จะ มุตตานัง

แม้ด้วยการตามระลึกพระปริตรอันใด

ปะริตตันตัมภะณามะ เห

เราทั้งหลายจงสวดพระปริตรนั้นเทอญ ฯ

บทธะชัคคะปะริตตัง ธะชัคคะสุตตัง

เอวมฺเม สุตํ 

อันข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ฯ

เอกํ สมยํ ภควา

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม

เสด็จประทับอยู่ ที่เชตวันวิหาร อารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี ฯ

ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ภิกฺขโวติ ฯ

ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ดังนี้แลฯ

ภทนฺเตติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ 

พระภิกษุเหล่านั้น จึงทูลรับพระพุทธพจน์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้ฯ

ภควา เอตทโวจ ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว

พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องดึกดำบรรพ์เคยมีมาแล้ว

เทวาสุรสงฺคาโม สมุปพฺยูโฬฺห อโหสิ ฯ

สงครามระหว่างเทพดากับอสูรได้เกิดประชิดกันแล้ว

อถ โข ภิกฺขเว สกฺโก

ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราช

เทวานมินฺโท เทเว ตาวตึเส อามนฺเตสิ

ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกเทพดา เรียกหมู่เทพดาในชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า

สเจ มาริสา เทวานํ สงฺคามคตานํ อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา

ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงบังเกิดขึ้นแก่หมู่เทพดาผู้ไปสู่สงคราม ในสมัยใด

มเมว ตสฺมึ สมเย ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ

ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเรานั่นเทียว

มมญฺหิ โว ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ

เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา

ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ โน เจ เม ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ

อันนั้นจักหายไป ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเรา

อถ ปชาปติสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ

ทีนั้น ท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราช ชื่อ ปชาบดี

ปชาปติสฺส หิ โว เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ

เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา

ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ โน เจ ปชาปติสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ

อันนั้นจักหายไปฯ ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อ ปชาบดี

อถ วรุณสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ

ทีนั้นพวกท่านพึงแลดู ชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ

วรุณสฺส หิ โว เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ

เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา

ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ

อันนั้นจักหายไป

โน เจ วรุณสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ

ถ้าท่านทั้งหลายไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ

อถอีสานสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ

ทีนั้นพวกท่านพึงแลดู ชายธงของเทวราช ชื่ออีสาน

อีสานสฺส หิ โว เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ

เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสานอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา

ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดีอันใดจักมี

โส ปหียิสฺสตีติ ฯ

อันนั้นจักหายไป ดังนี้

ตํ โข ปน ภิกฺขเว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ข้อนั้นแล

สกฺกสฺส วา เทวานมินฺทสฺส ธชคฺคํอุลฺโลกยตํ

คือการแลดูชายธงของสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดาก็ตาม

ปชาปติสฺส วา เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ

การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีก็ตาม

วรุณสฺส วา เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ

การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณก็ตาม

อีสานสฺส วาเทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ

การแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสานก็ตาม

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา

ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหีเยถาปิ โนปิ ปหีเยถ

อันนั้นพึงหายไปได้บ้าง ไม่ได้บ้าง

ตํ กิสฺส เหตุ

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร

สกฺโก หิ ภิกฺขเว เทวานมินฺโท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่าท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดา

อวีตราโค อวีตโทโส อวีตโมโห

เธอมีราคะยังไม่สิ้นไป มีโทสะยังไม่สิ้นไป มีโมหะยังไม่สิ้นไป

ภีรุ ฉมฺภี อุตฺราสี ปลายีติ ฯ

เธอยังเป็นผู้กลัว ยังเป็นผู้หวาด ยังเป็นผู้สะดุ้ง ยังเป็นผู้หนี ดังนี้

อหญฺจ โข ภิกฺขเว เอวํ วทามิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า

สเจ ตุมฺหากํ ภิกฺขเว อรญฺญคตานํ วา รุกฺขมูลคตานํ วา สุญฺญาคารคตานํ วา

ถ้าว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ไปอยู่ในป่าก็ตาม ไปอยู่ที่โคนต้นไม้ก็ตาม ไปอยู่ในเรือนเปล่าก็ตาม

อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา

ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงเกิดขึ้นในสมัยใด

มเมว ตสฺมึ สมเย อนุสฺสเรยฺยาถ

ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเรานั่นเทียวว่า

อิติปิ โส ภควา 

แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

อรหํ

เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ ควรบูชา

สมฺมาสมฺพุทฺโธ

เป็นผู้รู้ชอบเอง

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน

เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ

สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ

เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้ทรงรู้โลก เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า

สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ ฯ

เป็นศาสดาผู้สอนของเทพดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมดังนี้

มมํ หิ โว ภิกฺขเว อนุสฺสรตํ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงเราอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา

ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ

อันนั้นจักหายไป

โน เจ มํ อนุสฺสเรยฺยาถ

ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงเรา

อถ ธมฺมํ อนุสฺสเรยฺยาถ

ทีนั้นพึงตามระลึกถึงพระธรรมว่า

สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว

สนฺทิฏฺฐิโก

เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง

อกาลิโก

เป็นของไม่มีกาลเวลา

เอหิปสฺสิโก

เป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มาดูได้

โอปนยิโก

เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ

ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺูหีติ ฯ

เป็นของอันวิญญูชนทั้งหลาย พึงรู้เฉพาะตัว ดังนี้

ธมฺมํ หิ โว ภิกฺขเว อนุสฺสรตํ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงพระธรรมอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา

ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ โน เจ ธมฺมํ อนุสฺสเรยฺยาถ

ก็จักหายไป ถ้าท่านทั้งหลายไม่ตามระลึกถึงพระธรรม

อถ สงฺฆํ อนุสฺสเรยฺยาถ

ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า

สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว

ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว

สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว

ยทิทํ

คือ

จตฺตาริ ปุริสยุคานิ

คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย ๔

อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา

บุรุษบุคคลทั้งหลาย ๘

เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ

นี่พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อาหุเนยฺโย

ท่านเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา

ปาหุเนยฺโย

ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ

ทกฺขิเณยฺโย

ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน

อญฺชลิกรณีโย

ท่านเป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลีกรรม

อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ ฯ

ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งไปกว่าดังนี้

สงฺฆํ หิ โว ภิกฺขเวอนุสฺสรตํ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา

ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ

อันนั้นจักหายไป

ตํ กิสฺส เหตุ

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร

ตถาคโต หิ ภิกฺขเว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่าพระตถาคต

อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ

เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

วีตราโค วีตโทโส วีตโมโห

มีราคะสิ้นไปแล้ว มีโทสะสิ้นไปแล้ว มีโมหะสิ้นไปแล้ว

อภีรุ อจฺฉมฺภี

เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาด

อนุตฺตราสี อปลายีติ ฯ

เป็นผู้ไม่สะดุ้ง เป็นผู้ไม่หนี ดังนี้แล

อิทมโวจ ภควา

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้

อิทํ วตฺวาน สุคโต

พระผู้เป็นพระสุคต ครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว

อถาปรํ เอตทโวจ สตฺถา

ลำดับนั้น พระองค์ผู้เป็นพระศาสดา จึงตรัสพระพุทธพจน์นี้ อีกว่า

อรญฺเญ รุกฺขมูเล วา สุญฺญาคาเรว ภิกฺขโว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในป่า หรือในรุกขมูลหรือในเรือนเปล่า

อนุสฺสเรถ สมฺพุทฺธํ ภยํ ตุมฺหาก โน สิยา

พึงระลึกถึงพระสัมพุทธ ภัยจะไม่พึงมี แก่ท่านทั้งหลาย

โน เจ พุทฺธํ สเรยฺยาถ

ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ระลึกถึงพระพุทธ

โลกเชฏฺฐํ นราสภํ

ซึ่งเป็นใหญ่กว่าโลก ประเสริฐกว่านรชนที่นั้นพึงระลึกถึงพระธรรม

อถ ธมฺมํ สเรยฺยาถ

ที่นั้นพึงระลึกถึงพระธรรม

นิยฺยานิกํ สุเทสิตํ

อันเป็นเครืองนำออกซึ่งเราแสดงไว้ดีแล้ว

โน เจ ธมฺมํ สเรยฺยาถ

ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธรรม

นิยฺยานิกํ สุเทสิตํ

อันเป็นเครืองนำออกซึ่งเราแสดงไว้ดีแล้ว

อถ สงฺฆํ สเรยฺยาถ

ที่นั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์

ปุญฺญกฺเขตฺตํ อนุตฺตรํ

ซึ่งเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า

เอวํ พุทฺธํ สรนฺตานํ ธมฺมํ สงฺฆญฺจ ภิกฺขโว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายมาระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้

ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส น เหสฺสตีติ ฯ

ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีแลฯ