Skip to content

เดินจิตในกาย

หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร

| PDF | YouTube | AnyFlip |

นั่งฟังธรรมะ ทำความสงบจิตให้ได้เนื้อ คือหนังเนี่ยมันเป็นของนอก หนังมันเป็นของคนติด ท่านว่าติดหนัง ติดผิวหนัง คำสอนของพระพุทธเจ้าของเรา สอนให้ดูหนัง คือหนังธรรมะ คือหนังร่างกายของเรา อย่างที่เราสวดอาการ ๓๒ เราก็ไล่ไปครบ เนื้อหนังเอ็นกระดูก ตลอดอวัยวะทุกส่วนที่มีอยู่ในร่างกายส่วนภายใน แต่หนังเนี่ยมันเป็นภายนอก มันเป็นผิว ทว่าเป็นต้นไม้ก็เรียกว่าเปลือก มันผิวมันเป็นหนัง เราเคยเห็นหนังสัตว์และหนังของเราเองก็ไม่ต่างกัน เพราะฉะนั้นการที่เราปฏิบัติเข้าในให้ได้เนื้อ ให้ได้เนื้อๆ เนื้อแน่นๆ เนื้อที่ไม่มีไขมัน ที่บอกว่าสิ่งที่ทำให้ร่างกายมีความเข้มแข็งมีความอุดมสมบูรณ์ ก็มีเนื้อแน่น เนื้อสมบูรณ์ ไม่มีไขมัน ไม่มีเชื้อโรค ไม่มีพังผืด คำว่าเนื้อแน่นๆ อย่างที่คนไหนที่มีร่างกายสร้างมาดี ก็จะเป็นเนื้อแน่น เนื้อแข็งเพราะว่าถูกการปฏิบัติร่างกายการให้ใช้ให้กินเนี่ย การที่เราบำรุงรักษากินอาหารเข้าไปอย่างนี้ มันก็ไปสร้างเนื้อ ส่วนหนังนั้นมันเป็นสิ่งห่อหุ้มป้องกันภายนอก อย่างต้นไม้ก็เหมือนกัน มันก็ป้องกันสิ่งที่มาถูกต้องสัมผัส หนาวร้อนหรือสิ่งกระทบ อย่างที่โดนเป็นแผลหรือโดนมีดโดนขวานฟัน เปลือกมันก็มีแผล แล้วก็มีน้ำ มียางออกมา ร่างกายของเราก็เหมือนกัน ถ้ามันมีรอยมีแผลมีถลอกมันก็ออกยางออกเลือด ออกอะไร น้ำเหลือง เราก็เห็นอยู่ 

ฉะนั้นสิ่งที่มันปิดบังปัญญาของคนมันน้อยเดียวแต่เรามองไม่เห็นเพราะว่ามันปิดภายใน แต่ว่าตาเราเห็นอยู่ เหตุนั้นเราดูธรรมะ ดูเนื้อๆ ดูลึกๆ ดูส่วนที่มันเข้มแข็งเรียกว่าเป็นแก่นสารของร่างกายส่วนที่ห่อหุ้มปกคลุมไว้ แต่ส่วนในส่วนใจมันก็เป็นลึกอีก มันก็ไม่มีแก่นสาร มันเป็นโพรง มันเป็นที่อยู่ของพวกเครื่องในตับไตไส้พุงปอดอะไรต่างๆ ที่มันเป็นโพรงเป็นของอ่อน เราจะได้เข้าใจอยู่ เราไม่เห็นด้วยตา แต่เราได้รู้หรือได้เห็นสัตว์เห็นสิ่งที่มีซากมีศพเหมือนคนเนี่ย อย่างที่เราเป็นคนทำกิน อย่างเป็นคนทำอาหาร เนื้อปลาก็เหมือนกัน เราก็จะผ่าจะสับดูอยู่ มันก็จะเห็นส่วนหนัง ส่วนเนื้อแน่น ส่วนภายในลำไส้ตับไตปอดพุงอะไร เห็นหมด แต่เราเห็นแต่เราไม่ได้เอาปัญญา เราไม่เอามาสอนใจ เราคิดไปในเรื่องทางโลก เราคิดไปในความดีใจ ความอยาก ความได้กินอย่างนี้ อันนั้นคือความคิดผิดธรรม 

ถ้าเราคิดไปให้ถูกธรรมก็เป็นสิ่งที่จะได้นำมาพิจารณา มาปลงสลดสังเวชมาเห็นซากเห็นศพ เห็นสิ่งที่เรามาอาศัยอยู่ เรามาอาศัยเกาะ อาศัยเกิดอย่างนี้ แล้วเราก็ต้องเป็นผู้จะต้องรับความทุกข์ รับความทรมานในรูปในร่าง ในส่วนที่มันไม่ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ ปลอดจากความสกปรกเปื่อยเน่า น้ำเลือดน้ำเหลืองไขมันพังผืดอะไรอย่างนี้ มันก็เป็นเหมือนการที่เราปฏิบัติธรรมก็เพื่อให้นำจิตของเราเข้าไปสงบในสมาธิส่วนลึก ส่วนที่เรามองไม่เห็น เรากำหนดรู้ กำหนดสติขึ้นมา กำหนดปัญญาเข้าไปตั้ง กำหนดภาวนา มันไม่เห็น เหมือนเราเห็นด้วยแสงไฟ แต่เราเห็นด้วยแสงใจคือแสงธรรมแสงปัญญา เห็นแต่มันก็เห็นตามกระแส ตามความสว่างหละทีนี้ ถึงปัญญาเรามีน้อยริบหลี่ เราก็พยายามที่จะเร่ง จะเพิ่มแสงธรรมความผ่องใสของจิตที่เราขัดเกลาเข้าไปใน ให้มันไปถึงชั้นในชั้นเนื้อชั้นลึก 

อันนี้ท่านสอนมาตั้งแต่เบื้องต้นในทางพระพุทธศาสนาคือเป็นที่ก้าวมาสู่พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าของเรา ยกตัวอย่าง อย่างคนที่เข้ามาบวชเป็นพระเป็นเณรในพระพุทธศาสนาก็ต้องเริ่มต้นทางตรงที่เกี่ยวกับกรรมฐานของร่างกายเนี่ยนะ ก็สอนเข้านอกเข้าไปใน สอนแต่หนังไล่เข้าไป ไล่ไป ไล่ภายนอกเข้าไป เรียกว่าเกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ นี่ก็ไล่ข้างนอกเข้าไป แต่ทีนี้ท่านก็ไล่ข้างในคืนมาอีก ก็ไล่กลับทวนขึ้นมาให้มันมารู้กัน ส่วนในส่วนนอก ย้อนกลับขึ้นมาอย่างนี้ คือให้ทำสติทำปัญญาให้มันเกิด ให้มันเดิน ให้มันหมุน คือการปฏิบัติ คือว่าเป็นการเดินทางพระพุทธศาสนา ให้เดินเข้าไปแล้วก็กลับทวนคืนมาเพื่อให้ไม่หลงทาง ให้รู้ คืออย่างเรามีร่างกายนี้ ท่านก็เปรียบเหมือนทางเดิน แต่มันไม่ใช่ทางเดินอย่างเรา เดินทางดิน ทางพื้นอย่างนี้ มันเป็นทางเดินของจิตที่จะต้องเดินตามทางคือรูปร่างกาย มันไม่ได้เดินไปแย่งใคร มันเดินอยู่ในทางของตัวเราเฉพาะเส้นส่วนตัว 

ทุกคนที่เกิดมีร่างกายมานี่ ท่านบอกว่ามีเส้นทางที่ตัดมาจากความเกิดน่ะ เป็นทางที่ได้มาเริ่ม เดินมา ท่านจึงมีคาถาว่า เอกายโน อยังมัคโค ทางสายเอกในโลก ทางที่พระพุทธเจ้าเดินมาก่อนใครในโลก คือทางที่ไหน ก็คือทางรูปร่างกายทางเดียว อย่างว่า เอกะ แปลว่าหนึ่ง เอกายโน อยังมัคโค สัตตานัง วิสุทธิยา สัตว์คนเราร่างกายที่มีชีวิตเคลื่อนได้ เกิดมาตายไป ก็ต้องมาเดินทางเส้นนี้ เส้นรากฐาน เดินกลับไปกลับมา เราเดินจงกรม อันนั้นเป็นทางนอก เป็นทางพื้นโลก แต่มันผู้ที่เดินตัวทางเดินจริงๆก็คือร่างกายของเรานั่นแหละ เพราะว่าแผ่นดินมันเดินไม่เป็น เราก็จะเห็นอยู่ อย่างเราเดินจงกรมอย่างเนี้ย ดินมันไม่เดินไม่เคลื่อนไหว ไม่ก้าวให้เรา ก็ตัวร่างกายของเรานี่เดิน เหตุนั้นการเดินปฏิบัติเดินจงกรมก็คือเป็นเครื่องหมายของการเดินทางกาย คือเดินรู้ มีสติกำหนดภาวนาดูการก้าวการเดินการหมุน นั่นหละเป็นทางเส้นเดียว คือร่างกายของเราคนเดียว แล้วคนอื่นเค้าก็มีของใครแต่ละคน มีเป็นทางเฉพาะที่เราได้เส้นทางมาจากการเกิดเป็นรูปเป็นร่างมา 

ดังนั้นสัตว์อื่นประเภทอื่นที่มีชีวิตอยู่ในโลกก็เหมือนกัน มันก็มีทางเดินของมันเฉพาะ อย่างปู ปลา สัตว์ นก สัตว์อะไรต่างๆเนี่ย มันก็เดินร่างกายของมันให้เราเห็นอยู่ทั่วโลก หมู หมา เป็ด ไก่ นี่มันก็มีทางเดิน คือมันเดินชีวิต เดินความเคลื่อนไหว เดินธุระ การไปสู่จุดนั้นจุดนี้หาอยู่หากินวกเวียนมาอย่างนี้ แต่ว่ามันก็ไม่เดินตรงออกไปทีเดียวนี่ มันเดินย้อนเดินกลับเดินวน คือว่าโลกมันหมุนมันเวียนอยู่นี่ ที่เราทำอะไร เราเดินจงกรมก็เหมือนกัน เราไปธุรกิจก็เหมือนกันอย่างนี้ อย่างเราเดินมาเข้าพรรษาที่นี่ ไม่ว่าพระเณรหรือว่าญาติโยม ไม่ใช่เราอยู่ที่นี่มาก่อน เราเดินมา เรามาอยู่ มาพัก มาเดินอยู่ในบริเวณ แต่ว่าถึงเวลาครบกำหนด ถึงวันออกพรรษาเนี่ยก็เปิดทางให้เดินไกลเดินไปรอบด้านได้หละทีนี้ พอเดินร่างกายเดินหนทางที่เรามีตัวเราหนึ่งหละ เราก็เดินอยู่อย่างนั้น ถึงว่าร่างกายไม่เดิน ร่างกายเราหยุด เรานอนเราพักอยู่กับที่ แต่จิตมันก็เดินหละทีนี้ มันจะเดินวน เดินขึ้นเดินลง ขึ้นหัวลงตีน เดินรอบอยู่ในร่างกายส่วนทั้งหมด 

ฉะนั้นท่านบอกว่าเป็นทางสายเอกในโลก ถ้าใครไม่รู้จักว่าเรามีเส้นทางสำหรับเดินไปเพื่อกิจเพื่อธุระเพื่อทำประโยชน์ เราก็ไม่รู้จักที่จะนำร่างกายนำจิตของเราปฏิบัติ คือเดินไปเพื่อประโยชน์ เพื่อไปได้ กลับคืนมาสู่เจ้าของคือจิต ให้ได้มีเครื่องได้มีปัจจัย มีผลที่ได้รับ นี่ เหมือนเรารับพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นที่ปฏิบัติ เราก็ทำเพื่อมรรคผลนิพพาน เพื่อความสงบสุข เพื่อความอยากพ้นทุกข์ พอมาเห็น ถ้าคนมาเห็นเนี่ยก็จะรู้จักว่าเราเดินติดขัด เราเดินไม่รู้จักทางหนีทางพ้น เราก็รู้จักหละทีนี้ เราก็เห็นความทุกข์ การวนเวียนอยู่ในทางอยู่ในร่างกายของเรา เราก็จะต้องหาทางแก้ทางออกจากต้นทางปลายทางของเราทีนี้ คือความเกิดความตายอย่างนี้ แต่มันก็ถ้าเราไม่ไปให้พ้น เราก็หลงทางไปตลอดหละทีนี้ พอหลงทางนี้ เราไปต่อทางหน้าอย่างนี้ อย่างที่เราเกิดตาย เวลาตาย ทางเราไม่มีที่ไป แต่เรายังไม่รู้จักทางหลุดพ้น เราก็ไปหาเส้นทางใหม่ ไปหาเริ่มต้นใหม่ ไปหาเกิดเอาเส้นใหม่ รูปร่างใหม่อย่างนี้ เราไปเดินอย่างที่เราเป็นอยู่ มันก็ไม่ได้มีการที่จะหนีจะพ้นได้ เพราะว่ามันเป็นทางที่หลงที่หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ 

ถ้าเรามารู้จักอย่างนี้ มันจะเกิดปัญญา เกิดความรู้ เกิดความเบื่อหน่าย เห็นโทษความหลง เห็นความที่เราเดินทางผิด เราจะต้องหาทาง ดังนั้นท่านจะมีหนทางซึ่งพระพุทธเจ้าท่านเดินไปถูกทางเดียว คือหนทางอริยมรรค ที่มีทาง มีองค์ ๘ นั้นคือเป็นทางธรรม ทางหนีจากทางโลก ก็มีความรู้เป็นผู้มองเห็นเป็นผู้ที่จะปฏิบัตินำไป อย่างที่ในต้นทางที่จะได้เห็นทางก็คือมีปัญญา มีแสงสว่าง มองเห็น มองเห็นทางจิตขึ้น เราคิดหาว่าทางไหนมันจะพ้นทุกข์ มันจะไปถูกไปตรง เราก็เอาจิตของเราค้นคว้าแสวงหา 

เมื่อไปถูกทาง ไปเห็นทางเมื่อปัญญาที่ส่องให้ก็เกิดสัมมาทิฐิ คือความเห็นทางเห็นชอบแล้วว่าเธอต้องไปทางผิดทางถูกอย่างนี้ คือทางโลกทางผิดมันไปแล้วมันไปไม่ได้ และสัมมาสังกัปโปเกิดขึ้น ความดำริที่จะไป เราจะต้องไปทางนี้ทางเดียว ไปทางอื่นไม่ได้ มีทางหลงทั้งหมดในโลกยังมีกี่ล้านทาง อย่างจำนวนคนในโลกมีกี่ล้านคน มันก็เป็นทางหลงหมด มันไม่มีทางถูก ทางที่ถูกก็คือ พระพุทธเจ้า พระอริยเจ้า อุบาสก อุบาสิกาสมัยก่อน นั่น ไปทางถูกหมดเพราะมีสิ่งที่ส่งทางคือแสงสว่างปัญญามีสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบเห็นถูกว่าทางนี้เป็นทางเดียว ไม่มีทางอื่น ฉะนั้นคนที่เข้าทางได้ถึงเราจะเป็นฆราวาสญาติโยม เราไม่ได้บวชแต่ทางจิตเราปฏิบัติ เราเข้าถึงทางมันก็ได้ทางถูกต้อง มีทางที่สว่างที่จะเดินทางไม่หลง อย่างว่า สัมมาทิฐิคือปัญญา ไม่ใช่ว่าความเห็นชอบด้วยไม่มีแสงสว่างนำ คือเห็นชอบเห็นแล้วก็มีปัญญา เหมือนกับถนนเรามี แล้วก็มีไฟ มีสิ่งที่เปิดส่องทางทะลุมองเห็นน่ะ อย่างเค้าติดทาง เค้าติดไฟข้างถนนมันก็จะเห็นชัดเห็นไกลไปได้ถูกทาง อย่างนั้นท่านจึงว่าสัมมาทิฐิ คือความเห็นด้วยปัญญาที่ถูกต้อง แล้วก็เห็นชอบด้วย ไม่เห็น แล้วจิตก็ชอบด้วย จิตก็ยอมรับ ว่านี่คือทางชอบ ทางที่พระพุทธเจ้าเดินไป นี่สัมมาทิฐิ ความเห็นในจิตในทางปฏิบัติถูกต้อง 

สัมมาสังกัปโปก็ก้าวไป สัมมาวาจาก็เป็นการที่จะต้องนึกในใจกล่าวสอนใจเราไปว่าจะต้องทำอย่างนี้จะต้องปฏิบัติอย่างนี้ แล้วคำพูดต่างๆก็พูดถูกต้องตามหลักศีลหลักธรรมทีนี้ เป็นคำพูดที่ไม่ผิด เป็นคำพูดที่ไม่เป็นโทษเป็นทุกข์ จึงว่าสัมมาวาจา สัมมากัมมันโต การงาน เส้นทางคือร่างกายก็ชอบก็ถูก เรียกว่าการงานก็ทำ งานที่ถูก งานที่ไม่มีโทษ งานที่ไม่มีบาป งานที่ไม่ผิดกฏหมาย ผิดศีลธรรมคำสอนทั้งหมด เรียกว่าสัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว การที่เลี้ยงชีวิต การที่เป็นอยู่ก็ไม่ทำผิด ไม่ทำบาป ไม่ทำให้เรามีความทุกข์ความเดือดร้อนในการเดินการปฏิบัติ รู้จักสำรวมระวังว่าสิ่งใดที่จะทำให้เป็นบาปอย่างนี้คือจะเป็นการเบียดเบียนตัวเราเอง เบียดเบียนสัตว์อื่นคนอื่นอย่างนี้ จิตเค้าก็รู้ ก็เลือกเฟ้นได้ เรียกว่าสัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว 

สัมมาวายาโม ความเพียรมันก็ชอบ คือชอบเดินทาง ชอบกำหนด ชอบปฏิบัติ อย่างที่เราชอบทางกายเราอย่างนี้ ถ้าเราไม่ชอบ ทางของเรามันก็ตันหละสิ เหมือนหนทางนี่อย่างเราไม่ชอบเดิน เราไม่หมั่นเดิน หญ้ามันก็ขึ้นมันก็รก ถึงเราเคยตัดไว้แล้วแต่เราไม่เดินอย่างเนี้ย มันก็มีพวกกิเลส พวกกิเลสก็เป็นพวกหญ้า พวกเครือเขาเถาวัลย์ที่เราเห็นพื้นดินน่ะ คนไม่เดิน คนไม่ใช้มันก็รกขึ้น ร่างกายจิตเราไม่เดินมันก็รกขึ้น มืดบังมองไม่เห็น อย่างนั้นท่านให้สอนให้เดิน คือจิตเราเดิน เดินขึ้นเดินลง เดินบนล่าง สุดปลายทาง ท่านสอนที่ให้เราสวดเป็นอาการนั้นก็สอนให้เดินอย่างนั้น ไม่ใช่ว่าสอนให้ดูเฉยๆอย่างนั้น สอนให้เดิน อย่างเราเดินทางเริ่มตั้งแต่ต้น เริ่มตั้งแต่พื้นเท้า เราเดินขึ้นมาถึงรากขวัญถึงปลายผม เราก็เดินกลับคืนจากปลายผมลงไปสู่พื้นเท้า แล้วก็เดินทางข้ามทางนอก ก็ว่าเดิน ต้องเดินทางกาย ทางธรรม ทางศาสนาที่พระพุทธเจ้าท่านสอน แล้วก็เป็นทางที่แน่นหนา อย่างที่ว่าเนื้อๆเนี่ย มันเป็นที่แน่นเหมือนดินแน่น มันเดินมันก็ไม่มีการถล่มการเสียหายน่ะ เพราะว่ามันเป็นทางเป็นสิ่งที่รองรับอยู่ ฉะนั้นจึงว่าการที่ปฏิบัติเข้าถึงทางถึงเนื้ออย่างนั้น ต้องมีปัญญา ต้องมีความรู้ ต้องมีบารมี ต้องมีสติปัญญาที่ฝึก ที่กำหนดขึ้นมา ถ้าไม่มีเราต้องกำหนดให้มี มันไม่ใช่ว่ามันจะบันดาลเกิดเนรมิตขึ้นมาเอง ไม่ได้ ไม่มี คือเราต้องทำเอง เราต้องทำให้เกิดให้มี 

เหมือนอย่างแสงเทียนอย่างนี้ เราต้องทำเอง เราต้องหล่อเป็นเล่มเทียน เราต้องมีไฟเชื้อมาจุด มันถึงจะมีดวงมีแสงขึ้น ถึงการเดินทางมรรคทางจิตก็เหมือนกันนะ จะต้องทำขึ้น ถ้าไม่ทำมันไม่มีแสงมีเชื้อ มันไม่เกิดอ้ะ อย่างนั้นเราจะไปรอให้มันเกิด มันไม่มี เหมือนอย่างเราไม่มีไฟจุด มันก็มืดอย่างนั้น ทางก็มองไม่เห็น หรือบางทีเราเดินไปแต่เราก็ไม่ทำให้มันโล่งมันสะอาด เราก็ไม่ได้ปฏิบัติให้มันกำจัดพวกสิ่งที่มันรกรุงรัง พวกกิเลส พวกสิ่งที่มันขวางอย่างนี่ ถ้าเราทำไปปฏิบัติไป เราแก้ไขไปเหมือนเราเดินทางตามพื้นโลกนี่ ทั้งเราก็เดินด้วย บางทีอะไรมันเกิด ผุดตอขึ้นมา เราก็ถอนออก เราก็ขุดออก ก็เดิน มันจะเป็นทางที่โปร่งที่สะอาดที่แน่นหนา และเป็นทางรอยเครื่องหมายที่ว่าเราเป็นผู้เจ้าของทาง เป็นผู้เดินโดยตลอด 

อย่างร่างกายของเรา ทางของเรานั้น มันไม่ใช่คนอื่นจะมาแย่งเดิน มีเส้นทางเฉพาะจำกัด เส้นยาวเส้นสั้น เราเกิดมาใหม่ๆมันก็สั้น เพราะมันยังไม่ขยายไม่ยืด พอมันโตขึ้นมันก็ยาวไปสุดช่วงสุดส่วนมัน มันก็พอกับที่นั่น เพราะฉะนั้นเราต้องเดิน ต้องทำอย่างนี้ ต้องเกิดอย่างที่ว่าญาติโยมพวกที่เรามีภาระกิจ เรามัวแต่ทำมาหากินเพื่อปากเพื่อท้อง เรามุ่งเพื่อความเป็นอยู่ในชีวิตภายนอกของเรา เราไม่คิดเพื่อจะหาทางหนีจากทุกข์จากโลกจากความเกิดแก่เจ็บตาย เราจะไม่รู้จักทางหละทีนี้ รู้จักทางอยู่แต่เราก็ไม่เอาจิตของเราเดินทาง เอาจิตของเราหนีไปนอกทาง ไปทางโลกอย่างนี้ เราก็อยู่ในทางของเรา 

ในบางทีเราเคยหลงทางคนอื่นอย่างเนี้ย ผู้ชายก็ไปหลงทางผู้หญิง ผู้หญิงก็ไปหลงทางผู้ชาย อันนี้มันเป็นทางที่ให้เราหลงมา ไม่มีกำหนด หลงมาเบื้องหลังที่เรานับไม่ถ้วนและข้างหน้าจะหลงไปอีก ก็ไม่มีกำหนด เพราะมันหลงทางเส้นเดียวนี่แหละ เดี๋ยวมันก็เลี้ยว มันก็เปลี่ยนเส้น ไปหลงเส้นนี้ มันสับสนกันอยู่อย่างนี้ มันไม่ได้อยู่ในทางอย่างพระพุทธเจ้า ไม่อยู่ในสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ เห็นถูกด้วยปัญญา เห็นต้นทางที่จะนำตนออกไปจากโลก จากความเกิดจากกิเลสตัณหา ไม่คิด เพราะมันหลง เราไม่รู้จักนำจิตของเราไป พอไปเข้า มันก็ไม่เข้า เพราะว่าไม่ใช่ทางมัน มันเป็นรูปร่างกายเป็นอวัยวะต่างหาก แต่มันเป็นทางของจิตที่ท่องเที่ยวที่เรามาท่องในโลกนี่ ชั่วชาติหนึ่งหลายสิบปี คนเกิดมาทีหนึ่งถ้าไม่มีภัยมีโรคไม่มีอุบัติเหตุก็ไม่ตาย แต่เราก็หลงตลอดหละทีนี้ เราไม่ได้เดินทางถูก เราหลงไป หลงไปตลอด ชีวิตที่ยาวนานหลายสิบปี ไม่รู้จัก เราไม่รู้จักเข้าทางเส้นทาง ต้นทาง ปลายทางของเราด้วย อย่างที่เราเห็นน่ะ อย่างที่เราดู มันก็รู้ทีนี้ เราเป็นเด็ก หนทางมันยังเล็ก ยังมีกำลัง มันก็เดินไปคล่องแคล่ว เดินได้รวดเร็ว พอเราเดินมาถึงกลางทาง ถึงกลางอยู่กลางๆ มันก็กำลังแรงเต็มทีพอเดินไปถึงปลายทางนี่ มันก็เหมือนเดินทางมันไกลมันยาวมันก็แรงก็หมดลง มันเฒ่าชราลง อายุเบื้องหลังมันยาวไป อายุข้างหน้ามันหดสั้นเข้ามา มันใกล้จะหยุดแล้ว มันใกล้จะหยุดหายใจแล้ว เวลาเดินทางก็หมด มันไม่ได้เดินหละทีนี้ เราก็ต้องติด ก็ต้องตันทาง หลงทาง 

ดังนั้นเรื่องการที่เราเข้ามาสู่ศาสนาในเส้นทางมรรค ทางปฏิบัติทางกรรมฐาน ท่านก็จะสอนให้เส้นทางที่ถูกต้อง เส้นทางเดียวทางเอกในโลก อย่างที่ว่า เอกายโน อยังมัคโค สัตตานัง วิสุทธิยา สัตว์ผู้บริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าผู้เป็นสัตว์มาก่อน ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ ไม่ใช่เป็นคน ถึงเป็นคน แต่ในนามเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ยังอยู่ในภูมิของสัตว์ ก็เป็นเพื่อนสัตว์ทุกประเภทเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน เพราะยังหลงทางเหมือนกัน แต่พอดีท่านรู้ทางท่านเดินทางถูก ทางสายเอกได้ ก็พ้นจากความเป็นพระโพธิสัตว์มาเป็นพระพุทธเจ้า คือเดินทางไกลทางถูกแล้ว ไม่หลงทางแล้ว ไปพ้นทางแล้ว ไม่กลับมาย้อนคืนมา ไม่ไปเข้าต้นทางหลงที่ไหน ไม่ได้ไปเข้าท้องใคร นั่นน่ะ ท่านก็สอนไว้ให้เรารู้จักใช้เส้นทาง เข้าต้นทาง เราอย่าหลงทาง เราอย่าไปแย่งทางคนอื่น เราก็ไม่มีความผิดหละทีนี้ ถ้าเราไปแย่งทางคนอื่น มันก็มีความผิดเพราะว่ามันไม่ใช่ทางเรา มันเป็นทางของเขา 

ถ้าเรารู้จักเส้นทางอย่างนี้ เราเป็นชาวพุทธที่ไม่หลงทาง เป็นชาวพุทธที่เดินทางถูก แล้วเป็นผู้ที่ปฏิบัติทางของตนเองให้ทางนั้นเดินสะดวกและก็ไม่รกรุงรัง ไม่มีพวกอันตราย ไม่มีพวกฝุ่นตอหญ้าอะไรรกขวาง เพราะจิตของเราเป็นผู้ถากถาง ผู้รักษาเส้นทาง เราเดินเราดู นอกจากว่าเราลืม เราหลับไปนั่น เราตื่นเราก็ต้องเดินต่อ ให้ดูให้รู้อยู่อย่างนั้น แล้วมันมีอะไรในทางก็จะต้องแก้ไข จะต้องรู้จักป้องกัน ที่มันมีความไม่สะดวก มีโรคภัย มีการไข้การเจ็บ เราจะต้องรักษา จะต้องแก้ไขในระหว่างที่เรามีชีวิตเราเดินทางมานี้ ดังนั้นเรื่องการที่เข้ามาสู่ศาสนาก็มาทางธรรม ทางกัมมัฏฐานอย่างนี้ มาทางคำสอน มาทางปัญญา มาทางสัมมาทิฐิให้เราเข้าทางถูก ท่านสอนให้อย่างนี้ ท่านจึงมีการอบรมการสอนหลักหรือสอนต้นทางให้ คนที่เข้ามาใหม่ เข้ามาบวช ท่านได้สอนต้นทางที่ถูกให้เราคือทางกาย ทางกรรมฐาน ๕ ก็คือทางกายทั้งหมดนั่นเอง 

อย่าไปเดินทางอื่น ไปหลงทางอื่น ให้เดินอยู่ที่เดียวนี่ เดินกลับไปกลับมา เดินให้มันไม่หลงไม่ลืม พอเรารู้สึกเมื่อไรก็เดิน หรือว่าเราเดินจงกรมอย่างนี้ ถึงเวลาที่เราหมดภาระกิจอย่างอื่น เราไม่มีธุระที่จะต้องไป เราก็เดิน แต่เดินทางกายแล้วก็เดินทางจิตสิ กายเราก็เดินไปทางดิน จิตเราก็เดินทางกาย มันก็เป็นทางที่พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เราเดิน เราปฏิบัติให้ทำอยู่ ถึงเราจะไปเที่ยวไปที่ไหนเราก็ต้องเดินทางกายทางใจทางมรรคอย่างนี้ตลอด ถึงเราอยากไปเที่ยวไปเดินทางเท้าเราก็เดินด้วยแรงกาย ทางจิตเราก็เดินแรงสติปัญญาที่เรามีอยู่แล้วก็กำหนดรู้ ว่ามันเดินมากเดินน้อย เดินถึงใกล้ถึงไกล มันเหนื่อยมันหนักอะไร เราก็กำหนดดูไป เราก็จะเกิดความรู้ทีนี้ บนเส้นทางที่เราต้องเดิน คือเดินตามทางพระพุทธเจ้า ตามทางอริยมรรคให้มันถูกต้อง คือเป็นทางที่ไม่มีบาป ไม่มีทางหลง เป็นทางที่ปลอดโปร่ง ถึงเราไม่มีสิ่งที่จะ(เสียงไม่ชัด) แต่ว่าจิตก็เดินได้ มันไม่ได้ไปติดขัดที่ไหน เพราะจิตมันเป็นของละเอียด ของมีพลังอย่างนี้ เราก็เดินใช้กำลังเดินดูซิว่า มันไม่ได้พกได้พายไม่ได้ลากเข็นอะไรนี่ มันเดินด้วยจิต ด้วยความรู้ เราเดินไปด้วยความเร็วอย่างนี้ เพราะว่าถ้าเราเดินตามหลักสัมมาทิฐิ คือด้วยปัญญาแล้วนี่ มันจะไม่มีการเหนื่อย การชา มันจะรวดเร็วหละทีนี้ 

ฉะนั้นในต้นทางนั้นจึงยกสัมมาทิฐิขึ้นก่อน แล้วในที่สุดก็ไปถึงสัมมาสมาธิ คือถึงทางที่ตรง ที่สงบ ที่มั่นคง เป็นทางที่ถาวรแล้วทีนี้ ไม่มีทางหลงทางเสื่อมเสียแล้ว เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านรู้ ท่านเดินไปก่อนท่านสอนไว้เป็นพระพุทธศาสนา คือไว้สอนคนที่เกิดหลงทางมาทีหลังมากมายอย่างพวกเราอย่างเนี้ย มันหลง มันเกิดมาทีหลังก็ไม่รู้จักทาง ถึงมันรู้มันก็ฝืนทาง เพราะจิตมันมีความหลง มีกิเลสมาควบคุมไว้ มันบังไว้ เราจะให้มันเดินไม่ให้มีอะไรขัดแต่มันก็มีอารมณ์ มีความคิดในทางฝ่ายมืด ฝ่ายกิเลสต่างๆมันปิดบังไว้ มันทำให้เรา…เรามองทางจะไปมันมืด มันไม่รู้จะเดินไปอย่างไร มันไม่เห็น แต่ถ้ามันเห็นอย่างนี้มันก็เดินด้วยความปลอดโปร่ง เดินด้วยความเห็นว่า เอ้อ ทางมันตรง ทางมันเดินไม่ลำบากเพราะว่ามันไม่ได้เอาวัตถุอะไรไปเกี่ยวข้อง มันมีแต่จิตที่จะกำหนดที่จะเดินได้โดยไม่ต้องใช้วัตถุสิ่งของหละทีนี้ เดินเฉพาะจิตเฉพาะกายของเรา มันก็เจริญได้แต่งได้ รู้จักแต่ง รู้จักกำหนดต้นทาง กลางทาง ปลายทางที่เราทำอยู่ 

ทีนี้ความที่เราเดินบ่อยเดินประจำ มันก็แก้ความหลงได้ เหมือนเราอยู่ที่ไหน ไปทางเช่นใด ถ้าเราไปบ่อยๆไปประจำ ไปทุกวันอย่างนี้มันหลงไม่ได้ แต่ถ้าเรานานๆซักปีหลายปีไปทีหนึ่ง เราเคยจำได้ แต่เราไป หลง เพราะอะไร เพราะว่ามันไม่ได้เดินบ่อยเดินประจำ ปล่อยไว้นาน มันก็รกร้าง มันก็หมอง มองเครื่องหมายไม่เห็น อันนี้ก็เหมือนกันหละทีนี้ อย่างเราเดินในชีวิตในการเกิดการตาย การที่เข้ามาสู่ศาสนา เราก็ไม่รู้ว่าเราเข้ามาถูกอย่างนี่ ถึงเราเข้ามาถูกแล้ว เราก็ไม่เดินไปให้มันถึง ให้มันสุด เราก็ยังหวนกลับวกวนมา หวนคืนมาใหม่ แล้วก็มาหาต้นทาง ก็ค้นคิดอยู่นั่น มันก็เป็นการวนเวียน ทำให้เราเสียเวลา อย่างที่เราเข้าๆออกๆ นี่บางคนบวชสึกๆ บวชแล้วสึกๆแล้วไปอยากไปเดินต่ออีก วกวนอย่างเนี้ย ว่ามันเป็นโลกหมุนเวียน มันไม่ใช่เป็นโลกตรง 

โลกตรงคือพระพุทธเจ้า คือธรรมะ คือวิริยะ ที่ไปสู่มรรคผล ท่านออกไปจากโลกจากทุกข์ได้ เพราะอาศัยสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบในจิตที่จะหาทางออกไปจากโลก จากการควบคุมของกิเลส ของความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายเนี่ยแหละ เหมือนกับว่า นกที่มันถูกขังอยู่ในสุ่ม อยู่ในกรง ลักษณะอย่างนกเขา ชื่อมันนกเขาไม่ใช่นกเรา แต่มันเป็นสัตว์ แต่มันมีนิสัยเป็นนกป่า คนจับมาเลี้ยง เอามาขังใส่กรง นกกระทา เค้ามาเลี้ยงใส่กรง แต่มันรู้จักว่ามันติดอยู่ในกรง มันก็อยากออก มันก็จะพยายามที่จะหาช่องออก ถึงเขาเลี้ยงดี ให้กินอาหาร ให้กินน้ำ ให้ที่ซุ่มอยู่ไว้ป้องกันภัย มันก็ไม่นิ่งหละนี่ มันก็ยังมีนิสัยที่จะหาช่องหาทางออก มันก็กินแล้วก็จับวนตาตุ้มของมันอย่างนั้นเป็นงานประจำ ในที่สุดมันทำไม่หยุด มันมีช่องทาง พวกตุ้มพวกกรงมันขาดมันหลุดออกหละ ทีนี้มันออกไปได้ ต้องอาศัยกำลัง อาศัยความแข็งแรง อาศัยความขยัน อันเปรียบลักษณะเปรียบเทียบกับจิตผู้อยากออกจากโลกจากกิเลสจากความเกิด จะต้องมีลักษณะจะต้องทำจิต จะไม่หยุดนิ่ง จะต้องหมุน จะต้องคิด จะต้องกำหนด นอกจากหลับไป ตื่นขึ้นรู้ได้ก็หาทางเหมือนกับนกมันไม่หยุดนิ่ง มันไม่มีอะไรจะทำมันก็ทำหน้าที่ของมัน มีคนให้กินน้ำกินข้าว 

เหมือนอย่างญาติโยมเป็นผู้ที่อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนาให้พระสงฆ์สามเณรเสมอกัน ก็ให้อาหารให้น้ำให้ปัจจัยให้พระสงฆ์ได้ไม่ต้องไปเดือดร้อน ไม่ต้องหิวโหย ไม่ต้องเสียกำลัง จะได้เป็นปัจจัยที่ให้กำลังร่างกาย ให้มีกำลังทำความเพียร ให้มีกำลังที่จะเจริญสติปัญญา เพื่อหาทางออกจากโลกจากกิเลส จากตุ้มน่ะ มันก็เป็นเครื่องที่ให้เราเห็นอยู่ ไม่ใช่ว่าให้เลี้ยงอยู่ ให้ติดอยู่ ให้ทรมานอยู่ เราได้อาหาร ได้เครื่องอยู่อาศัย เราก็ต้องใช้กำลัง จะต้องเตรียม จะต้องทำคุณค่าคุณประโยชน์ให้เกิดแก่ผู้ที่นำมาให้ ผู้ที่ทำเพื่อแบ่งสรรปันส่วนอย่างนี้ เป็นที่มาเป็นทางของพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ดั้งเดิมอย่างนั้น ท่านก็จะได้รู้สึกตัวของตัวเองหละทีนี้ ว่าชีวิตของเราที่เป็นพระอย่างนี้ ที่เราสวดกันในพระสัทธรรม ๑๐ ข้อก็เหมือนกัน ก็เนื่องด้วยคนอื่น เราไม่ได้ขวนขวายหาเอง กินเอง ปลูกเอง แต่คนอื่นเค้าแบ่งให้ เค้าศรัทธา เค้าถวาย เค้าบำรุง ก็เพื่อให้เราได้ธรรม ได้ปฏิบัติ ให้มีกำลัง ให้มีสติปัญญานี่แหละ เรียกว่าปัญญานี้เกิด 

ถ้าเราเกิดปัญญาได้ ผลที่ได้รับมันสูงของเราและของเขา ก็จะมีส่วนได้ ส่วนได้จากการให้การเสียสละต่างๆอย่างนี้ มันก็มีผลหละทีนี้ ผลที่ได้มันจะได้กุศลในความฉลาดที่นำไปปฏิบัติไม่หยุดนิ่ง ที่ทำให้เกิดผล มีผลมีคุณค่ามากขึ้น ส่วนน้อย แต่ว่าเราใช้ปฏิบัติ เราเร่ง เราทำให้มาก มันก็ได้ผลมากขึ้น เพราะกำลังที่เราได้อาศัยก็จะเป็นประโยชน์แก่จิตใจของเรา และผลสะท้อนก็จะถึงคนอื่นทีนี้ เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดกำลัง แต่ถ้าไม่มีปัจจัย มีสิ่งที่ได้มา ไม่ได้มีเครื่องใช้ของฉัน เราก็ไม่มีแรงที่จะปฏิบัติที่จะทำการเดินทาง ไม่มีเสบียง ส่วนที่ศรัทธาญาติโยมที่เค้าให้เสบียงเป็นผู้ที่มีส่วน เค้าก็เลยศรัทธาหวังกุศลผลบุญ แต่เค้าหวังไม่ตรงต่อทางพ้นทุกข์ก็มี บางทีเค้าหวังความสุขแค่ชีวิต แค่มนุษย์สมบัติอย่างนี้ เค้าหวังเพื่อร่ำรวย เพื่อได้กินได้ใช้ได้เป็นของสมบัติ จะเกิดแก่เจ็บตายอยู่ในโลก เพื่อรักษาภูมิชาติมนุษย์ หรือภูมิชาติสวรรค์ เทวบุตร เทวดานี่มี อันนั้นเป็นชั้นที่ยังอยู่ในโลกอยู่ อยู่ในสุ่มอยู่ในกรงอยู่ ขังอยู่ เราไม่ได้จิตเพื่อหาทางออก เรายังทำเพื่อเลี้ยงเพื่อบำรุงกิเลส 

แต่คนที่เขามีปัญญาแล้ว เค้ามาปฏิบัติเกิดความรู้ เกิดรู้จักทางมรรคทางผล เค้าจะไม่คิดอย่างนั้น เค้าทำเพื่อความหมดสิ้นไป เค้าไม่หวังเพื่อการตอบแทน นั่นพวกนั้นเป็นพวกที่จะช่วยให้พระสงฆ์ได้สำเร็จมรรคผลด้วยอานิสงส์ของใจอย่างถูกต้อง ไม่ได้ปรารถนา คือปรารถนาเพื่อให้กิเลส เพื่อให้บุญที่ทำไปไม่เรียกกลับคืน ไม่เรียกค่าตอบแทน ทำให้หมดไปสิ้นไป คนที่มีศรัทธาแบบนี้ คนสมัยปัจจุบันมันไม่ค่อยมีหรอก เค้าก็มีแต่ว่า เออ จะทำบุญ ก็นึกอธิษฐานอันนั้นอันนี้ ให้มีโชคมีลาภ ให้ร่ำให้รวย ให้ได้มากๆ เนี่ยอย่างเนี้ย บางทีก็ให้เกิดเป็นมงคลอย่างอื่น ให้ขลัง ให้คุ้มครอง ให้ความคิดทั้งหมดน่ะมันผิดหมด คนที่ตั้งจิตอธิษฐานไปผิดมรรคผิดทางหมด แต่มันก็ได้ผลทางโลกหละทีนี้ แต่มันผิดทางมรรคผล คนที่เขาต้องการมรรคผล เค้าไม่คิดหละทีนี้ เค้าคิดว่าทำเพื่อให้มันหมดกิเลส หมดไปสิ้นไป ไม่คิดเอาผลกำไรค่าตอบแทน ทำแล้วก็แล้วไป ไม่เรียกค่าย้อนคืนมา อันนั้นเรียกว่าเป็นทานที่อย่างละเอียด อย่างสูง อย่างอุกฤษฏ์ ทานชีวิต ทานที่เสียสละจริงๆ ไม่เรียกค่าตอบแทน ดังนั้นพระผู้ที่ได้รับไปก็เป็นผู้ที่เรียกว่าได้กำลัง ได้ความบริสุทธิ์ ได้ความที่ถูกต้องเพราะผู้ที่ให้ปัจจัยให้สิ่งของเค้าก็มุ่งถูกต้องเหมือนกัน เค้าก็อยากพ้นทุกข์ เค้าก็อยากออกจากโลกจากความเกิดแก่เจ็บตาย ซึ่งมันมาทรมานอยู่นับไม่ถ้วน 

อย่างที่เราเบื้องหลังอย่างนี้ เราก็ย้อนนับไปเรียงลำดับไปไม่ถ้วน และอีกข้างหน้าอย่างนี้ที่เรายังมองไม่เห็นที่สุดที่พ้นทุกข์อย่างนี้ เราก็ฝึกปัญญา มันมองไม่เห็น ดังนั้นเราเห็นปัจจุบัน เราดูปัจจุบัน เราดูความคิดจิตที่เราอยู่ปัจจุบัน มันคิดอะไร มันเกิดอะไร มันเดินไปคล่อมตรงไหน เหมือนเราเดินทางอย่างนี้ เราไปเกาะเครือเขาเถาวัลย์อยู่เส้นไหนอะไร โดนตอโดนหลุมบ่อที่ไหนเราต้องดูในที่เราเจอนั่นน่ะ เราต้องซ่อมแก้ไขตรงนั้น เราต้องแต่งตรงนั้น เรียกว่าเป็นปัจจุบัน ท่านสอนให้ลงปัจจุบันให้เราส่วนที่ว่าต้นทางปลายทางหน้าหลังมันเป็นสิ่งที่ไกลไป ให้ดูใกล้ๆนี่ ที่เราอยู่ปฏิบัติ 

เราอยู่ในพรรษาอย่างนี้ก็เหมือนกัน เราเดินตั้งแต่วันเข้าวันต้นมา มันก็เดินมา แต่เราไม่ได้ไปเดินแต่ว่าความหมุนเวียนของกาลของเวลาของโลก มันก็หมุนไป มันก็มาถึงที่สุดจนถึงปลายทางออกพรรษาให้เราได้อยู่ปัจจุบัน แต่มันก็เดินทางหมุนเวียนทางโลก แต่ส่วนสติปัญญาที่เราเดินเข้ามา เราก็เดินทางภายใน เราก็เดินเส้นทางสายเอกซึ่งเป็นทางที่เราได้มาจากกำเนิดความเกิด เป็นผู้ที่สร้างจำแนกให้เรามา เราก็รักษาทีนี้ รักษาเป็นเส้นทางที่จะเดินปฏิบัติ เดินเพื่อให้รู้จักทางถูก ทางตรง ถ้ามันเกิดมีลุ่มหลงมีอะไร มันผิดทางเราก็รีบ รีบกลับคืน อย่างที่เราหลงทางคนอื่น เราก็รู้ว่าคนอื่นมันไม่ใช่ทางของเรา เราก็รีบเรียกทันที เรียกความคิด ไม่ใช่ทางเรา คือทางเขา เราไปเดินแย่งเขา ไปเบียดเขา ไปขัดเขา มันก็รู้จักหละทีนี้ 

ดังนั้นเรื่องการเข้ามาสู่ศาสนาหรือศาสนาจะมีมาถึงพวกเราก็มาจากคำสอนพระพุทธเจ้าตรงที่เส้นทางปฏิบัติทางมรรค ทางอริยมรรคนี่ มาเป็นเส้นทางเอก เป็นทางถูกทางตรงมาแต่ครั้งพระพุทธเจ้า พระสาวกทั้งหลาย พุทธบริษัททั้งหลาย ผู้ที่มีปัญญา ผู้ที่ไม่นอก ตรงทางเหมือนกับพระพุทธเจ้าก็เดินไปเส้นนี้ถูกต้อง ไม่หลงไม่ผิด แต่เราหลงเราก็รู้ แต่เราก็ต้องรีบเรียกรีบกลับคืนรีบแก้ อย่าให้หลงไปตลอดทางเพราะว่าเวลาเรามีเฉพาะ อย่างชีวิตของเราแต่ละคนมีกำหนดอายุเส้นทางเฉพาะเลย เราเดินทางยังไม่ไปถึงไหน เราไปหมดชีวิตตายก่อน ทางของเราก็ยังตกค้าง เรียกว่าเส้นทาง เรียกว่าเป็นศาสนา เป็นเนื้อธรรมะที่อยู่ในใจในกายของเราทุกคน ให้มีความเข้มแข็ง นี่คนที่ปฏิบัติคนที่เกิดคนที่ทำความเพียรก็สร้างความเข้มแข็ง เพราะร่างกายมันทำงาน มันเคี่ยวเข็ญอะไรของมัน ตลอดถึงมีอาหารที่จะเข้าไปบำรุง ไปสร้าง มันก็เกิดความหนาแน่นเข้มแข็ง เป็นเนื้อๆแน่นๆ เกิดความแข็งแรง ความขยันหมั่นเพียร ก็เดินทางจิตด้วยความที่แรงสติปัญญา มีความขยันมีพลังที่จะต้องนำจิตนำสติของเราเดินกลับไปกลับมา เดินอยู่ตลอดนะสิ เพื่อไม่ให้หลงผิดทาง ถ้าหลงผิดทางน้อยเดียวก็ได้โทษได้บาดได้แผล ก็เหมือนกับว่าเราไปเดินผิด ล้มแล้วพลิกผิดนิดเดียวนี่ เราก็ได้โทษได้แผลแล้ว คือเกิดความเดือดร้อน เกิดความไม่สงบ เกิดความทุกข์ใจ 

นี่เป็นธรรมะเตือนใจในการออกพรรษา เหมือนกับเราต้องหาทาง ตอนที่เราอยู่ในฤดูฝนนี่เหมือนกับว่าเรามารู้จักว่าจิตเขายังถูกกิเลสขังอยู่ เราจะต้องหาทางซ่อม ต้องสับต้องไชเหมือนนกกระทาที่มันเป็นสัตว์ มันยังมีความคิดที่จะอยากออกมาในที่แคบที่ขัง คนเราผู้มีสติปัญญาผู้เกิดมาในโลก เห็นร่างกายเห็นกรงขังของเรา เราก็ต้องสร้างปัญญาขึ้น ต้องรู้จักหา ไม่ใช่ของคนอื่น ไม่ใช่ของพวกแม่ญาติพี่น้องเรา มันเป็นของเราคนเดียวเฉพาะ ใครไปช่วยไม่ได้ 

เหมือนอย่างนกโดนขังเฉพาะตุ้ม เฉพาะตัว มันต้องทำกิจทำกรรมของมันจะไปให้คนอื่น  ถึงพระพุทธเจ้าเองก็ไม่ใช่ไปช่วยได้ แต่พระพุทธเจ้าท่านสอนการหาทางออก หรือการที่จะใช้ปัญญา สอนให้มีความขยันหมั่นเพียร มีความตื่นอยู่ตลอด ไม่หลงไม่หลับ ไม่อ่อนแอ อันนั้นเป็นคำสอนที่ช่วยพวกเรา ช่วยสัตว์โลกตรงนี้ แต่จะให้ตัวของเค้าออกมาช่วยไม่ได้ สิ่งที่ช่วยก็เป็นคำสอนคือเป็นพระพุทธศาสนา หมายถึงพวกเรานี้ช่วยสอนช่วยบอกซ่อมทางให้เรา แต่ถ้าสอนบอกแล้วเรายังไม่ตื่น หรือเราไม่มีความขยันมีกำลัง เราเป็นคนที่ไม่มีศรัทธา เป็นความความขี้เกียจมันก็ไม่ได้หละสิ มันก็ว่ามันลำบาก เนี่ยมันทำไม่ได้ มันมีกิเลสความขัดแย้งคัดค้านเยอะ เรื่องทางมรรคทางผลทางอริยมรรคมันไม่ใช่ธรรมดา ถ้าพูดถึงว่ามันมีสิ่งที่มันขัดแย้งมาก่อกวนมันก็ลำบากหละทีนี้ ที่เราลำบากเพราะว่าพวกกิเลสพวกมารพวกความเห็นแก่เหนื่อยแก่ตัวแก่โลกอะไรหละทีนี้ ปัญญามันก็หมดแรง เห็นไฟมันก็ดับก็มืดไปหมด นี่เป็นเนื้อธรรมเป็นคำสอนเป็นแสงประทีปที่จะให้เราปฏิบัติมองทางมรรคผลตามพระพุทธเจ้า ให้ทางพ้นจากโลกจากกิเลสไป นี่เป็นธรรมะเตือนใจ ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้