คำบูชาพระรัตนตรัย
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรม เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวก,ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโร ปิเตหิ อะภิปูชะยามะ
ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชาอย่างยิ่ง, ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้, อันยกขึ้นตามสมควรแล้ว อย่างไร
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว, ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะมานะสา
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงรับเครื่องสักการะ อันเป็นบรรณาการ ของคนยาก-ทั้งหลายเหล่านี้
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญฯ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิ (กราบ)
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์
(แต่ถ้าแบบธรรมยุตพระเถระจะเริ่มจากที่นี่)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ)
(เฉพาะแบบธรรมยุต-ผู้สวดนำกล่าวผู้เดียวว่า ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง สะสัทธัมมัง สะสาวะกะสังฆัง อะภิปูชะยามะ)
ปุพพะภาคะนะมะการะ
(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต,สัมมาสัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ)
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธาภิถุติ
(หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด
โย โส ตะถาคะโต
พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด
อะระหัง
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม
ภะคะวา
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพ๎รัห๎มะกัง, สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัต๎วา ปะเวเทสิ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้ง ด้วยพระปัญญา อันยิ่งเองแล้ว, ทรงสอนโลกนี้ พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ,์ พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์ให้รู้ตาม
โย ธัมมัง เทเสสิ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว
อาทิกัล๎ยาณัง
ไพเราะในเบื้องต้น
มัชเฌกัล๎ยาณัง
ไพเราะในท่ามกลาง
ปะริโยสานะกัล๎ยาณัง
ไพเราะในที่สุด
สาตถัง สะพ๎ยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พ๎รัห๎มะจะริยัง ปะกาเสสิ
ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติ,อันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง, พร้อมทั้งอรรถะ (คำอธิบาย)พร้อมทั้งพยัญชนะ (หัวข้อ)
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ
ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า
(กราบระลึกพระพุทธคุณ)
ธัมมาภิถุติ
(หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะพระธรรมเถิด
โย โส ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มี พระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ,พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ
ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า
(กราบระลึกพระธรรม)
สังฆาภิถุติ
(หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะพระสงฆ์เถิด
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวก,ของพระผู้มีพระ ภาคเจ้านั้นหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวก,ของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวก,ของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวก,ของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
นั่นแหละสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะ ที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะ ที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลิกะระณีโย
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไป ควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ
เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า
(กราบระลึกพระสังฆคุณ)
ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถา
(หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะวัตถุปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย กล่าวคำนอบน้อมพระรัตนตรัยและบาลีที่กำหนดวัตถุเครื่องแสดงความสังเวชเถิด
พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว
พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณา ดุจห้วงมหรรณพ
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน
พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน
พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป
โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก
จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน, ส่วนใด
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน
ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
สังโฆ สุเขตตาภ๎ยะติเขตตะสัญญิโต
พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่ กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก
เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตาม พระสุคต, หมู่ใด
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส
เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้นโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง, วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง
ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา,มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา
บุญใดที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม, คือพระรัตนตรัย อันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว,ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้, ขออุปัทวะ(ความชั่ว) ทั้งหลาย,จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย, ด้วยอำนาจความสำเร็จอันเกิดจากบุญนั้น
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน
พระตถาคตเจ้า เกิดขึ้นแล้วในโลกนี้
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก
และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก
เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ
มะยันตัง ธัมมัง สุต๎วา เอวัง ชานามะ
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า
ชาติปิ ทุกขา
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกขา
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
มะระณัมปิ ทุกขัง
แม้ความตายก็เป็นทุกข์
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์
เสยยะถีทัง
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
รูปูปาทานักขันโธ
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป
เวทะนูปาทานักขันโธ
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา
สัญญูปาทานักขันโธ
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา
สังขารูปาทานักขันโธ
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร
วิญญาณูปาทานักขันโธ
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ
เยสัง ปะริญญายะ
เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้ อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง
ธะระมาโน โส ภะคะวา
จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ
ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย, เช่นนี้เป็นส่วนมาก
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ
อนึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย, ส่วนมาก มีส่วน คือการจำแนกอย่างนี้ว่า
รูปัง อะนิจจัง
รูปไม่เที่ยง
เวทะนา อะนิจจา
เวทนาไม่เที่ยง
สัญญา อะนิจจา
สัญญาไม่เที่ยง
สังขารา อะนิจจา
สังขารไม่เที่ยง
วิญญาณัง อะนิจจัง
วิญญาณไม่เที่ยง
รูปัง อะนัตตา
รูปไม่ใช่ตัวตน
เวทะนา อะนัตตา
เวทนาไม่ใช่ตัวตน
สัญญา อะนัตตา
สัญญาไม่ใช่ตัวตน
สังขารา อะนัตตา
สังขารไม่ใช่ตัวตน
วิญญาณัง อะนัตตา
วิญญาณไม่ใช่ตัวตน
สัพเพ สังขารา อะนิจจา
สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน, ดังนี้
เต (ตา) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า มะยัง โอติณณามะหะ
พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว
ชาติยา
โดยความเกิด
ชะรามะระเณนะ
โดยความแก่และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย
ทุกโขติณณา
เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว
ทุกขะปะเรตา
เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ
ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้, จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้
สำหรับ พระภิกษุ – สามเณรสวด
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง
เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, แม้ปรินิพพานนานแล้ว, พระองค์นั้น
สัทธา อะคารัส๎มา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา
เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว
ตัส๎มิง ภะคะวะติ พ๎รห๎มะจะริยัง จะรามะ
ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา
ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย
ตัง โน พ๎รห๎มะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ
ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น, จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ
สำหรับอุบาสก, อุบาสิกา
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณังคะตา
เราทั้งหลาย ผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้น เป็นสรณะ
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ
ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง, ยะถาสะติ, ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตามสติกำลัง
สา สา โน ปะฏิปัตติ
ขอให้ความปฏิบัตินั้นๆ ของเราทั้งหลาย
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ
จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุด แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ
(จบคำทำวัตรเช้า)